วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

“ท้องเสีย” แบบไหน ถึงต้องกินยาปฏิชีวนะ?

สาเหตุของอาการท้องเสียมีอยู่มากมาย ทั้งการทานอาหารรสจัด อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หรืออาจจะแค่ถ่ายมากกว่าปกติเพราะทานอาหารที่เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายมากกว่าปกติก็ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าเราต้องทานยาทุกครั้งที่มีอาการท้องเสีย โดยเฉพาะ “ยาฆ่าเชื้อ” หนำซ้ำ หากเราทานยาทุกครั้งที่ท้องเสียโดยไม่จำเป็น อาจส่งผลให้เราดื้อยาได้

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สูตร “ยาสระผม” ตามฉบับแม่ผ่องใน “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง”

คงจะมีหลายคนที่แพ้แชมพู หรือยาสระผมที่เต็มไปด้วยสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ ผื่นแดง แสบร้อน หรือเป็นสิว และจะดีแค่ไหนหากเราได้ลองยาสระผมที่ทำมาจากสมุนไพรไทยล้วนๆ  จึงขอนำเสนอสูตรเครื่องยาสระ หรือยาสระผมสูตรแพทย์แผนไทยโบราณ ที่ อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (ที่ปรึกษาผู้จัดละครทองเอก หมอยา ท่าโฉลงด้านวิชาการแพทย์แผนไทย) เป็นผู้ให้ข้อมูลเอาไว้ เผื่อใครอยากลองทำตามกัน

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

จริงหรือไม่? ยาที่มีส่วนผสมของ PPA เสี่ยง “เลือดออกในสมอง”

ส่วนประกอบในยาแต่ละชนิดเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยหลายคนอาจมองข้าม แต่จริงๆ แล้วมีความสำคัญมาก เพราะในยารักษาโรคแต่ละชนิดอาจมีส่วนประกอบที่รักษาโรคเดียวกัน แต่มีการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน จึงมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง?

อากาศร้อนอบอ้าวอย่างบ้านเรา สามารถพบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษได้เรื่อยๆ ตลอดทั้งปี และยังมีความเสี่ยงได้ตั้งแต่ร้านอาหารข้างทาง ไปจนถึงร้านมีชื่อขึ้นห้าง หรือโรงแรมดัง เมื่อไรก็ตามที่เรามีอาการถ่ายท้อง ท้องเสีย หลายคนนึกถึงยาคาร์บอนที่ช่วยให้เราหยุดถ่ายได้ แต่เมื่อไรที่เราควรทาน และเมื่อไรที่เราควรรักษาด้วยวิธีอื่น มีข้อมูลมาฝากกัน

วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

11 สมุนไพร อันตรายกับผู้ป่วย “โรคไต”

ในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคไตเป็นจำนวนมาก การรักษาจึงมีทางเลือกมากมายไม่ว่าจะเป็นการรักษากับทางโรงพยาบาลตามปกติ รวมไปถึงแพทย์แผนทางเลือกที่เริ่มเป็นที่นิยมของผู้ป่วยชาวไทยที่เชื่อว่าการใช้ธรรมชาติบำบัด จะเป็นหนทางที่ทำให้ร่างกายหายจากโรคร้ายได้มากกว่า แต่พล.อ.ท.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กล่าวว่า ยังไม่มีสมุนไพรตัวใด ที่มีการวิจัยในมนุษย์โดยวิธีการวิจัยที่เหมาะสม แล้วสามารถพิสูจน์ได้ว่าช่วยให้การทำงานของไตดีขึ้น และยังต้องระวังการใช้สมุนไพรที่มีกระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจมีการใช้สมุนไพรผิดชนิดและมีสิ่งหรือสารปนเปื้อน เช่น สเตียรอยด์ สารหนู แคดเมียม ซึ่งอาจมีผลต่อโรคไตได้