วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

4 ข้อควรรู้ ก่อนฉีดวัคซีน HPV ป้องกัน "มะเร็งปากมดลูก"

 มะเร็งปากมดลูก เป็นเพียงโรคมะเร็งไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ผู้หญิงจึงควรฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคตั้งแต่ต้น แต่ก็มีเรื่องควรทราบก่อนเข้ารับวัคซีน

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เช็กให้ดี! “ยา-อาหารเสริม” ที่ควรกินและไม่ควรกินด้วยกัน อาจเสริมพลังหรืออันตรายต่อร่างกาย

 ยาหลายๆ อย่างควรกินด้วยกันเพื่อเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกัน แต่กับยาบางตัวถ้ากินด้วยกัน นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเต็มที่แล้ว ยังอาจเป็นอันตรายได้ด้วย

มีข้อมูลจาก นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการ ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ มาฝากกัน


ยาที่ควรกินด้วยกัน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ และฤทธิ์ของยา

  1. วิตามินซี กับ คอลลาเจน เป็นอาหารเสริมที่ควรกินด้วยกัน เพื่อช่วยกันเสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ผิวใสสุขภาพดีไม่หย่อนคล้อย
  2. วิตามินซี กับ ธาตุเหล็ก การกินวิตามินซีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ในร่างกายได้ เช่น ถ้าการกินต้มเลือดหมู ควรกินทั้งเลือดหมู (ที่มีธาตุเหล็ก) และใบตำลึง (ที่มีวิตามินซี) เพื่อให้ร่างกายนำธาตุเหล็กดูดซึมไปใช้ได้ด้วย
  3. แคลเซียม กับ แมกนีเซียม คล้ายๆ กัน ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมไปใช้ จำเป็นต้องมีแมกนีเซียมช่วย นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการวิตามินดี และวิตามินเคด้วย (นอกจากในอาหารเสริมแล้ว วิตามินยังอยู่ในแดดยามเช้า วิตามินเคอยู่ในผักใบเขียวเข้ม)
  4. วิตามินเอ ซี และ อี ควรกินด้วยกันเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกัน สามารถหากินจากอาหารได้เช่นกัน เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผักใบเขียว เช่น คะน้า และถั่วลิสง เป็นต้น
  5. น้ำมันปลา (ที่ไม่ใช่น้ำมันตับปลา) ให้เลือกชนิดที่มี DHA คู่กับ EPA อย่างน้อยกินให้ได้ค่า ดีเอชเอ+อีพีเอ = 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีเคล็ดไว้ว่าถ้าอยากบำรุงสมองต้องเลือกชนิดที่มีดีเอชเอเด่น แต่ถ้าจะให้บำรุงส่วนอื่นเป็นหลัก เช่นข้ออักเสบให้เลือกชนิดที่มีอีพีเอสูง

ยาที่ไม่ควรกินด้วยกัน อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

  1. น้ำมันปลา กับ ยาแอสไพริน น้ำมันปลามีฤทธิ์ช่วยให้เลือดใสไม่หนืดเหนียว ส่วนแอสไพรินก็มีฤทธิ์เดียวกัน คือช่วยให้ไม่เกิดลิ่มเลือดจับแข็งเป็นก้อนตัน เมื่อกินคู่กันเลยอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุด แม้แค่กรอฟันนิดเดียวก็อาจทำให้เลือดออกได้ราวกับผ่าตัดใหญ่
  2. วิตามินอี และ อีฟนิ่งพริมโรส เพราะในอีฟนิ่งพริมโรสก็มีวิตามินอี หากกินด้วยกันอาจทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอีมากเกินไป และอาจเป็นอันตรายต่อหัวใจได้
  3. แคลเซียมเสริม กับ แคลเซียมสด คือกินทั้งเป็นอาหารเสริม และอาหารที่มีแคลเซียมสูงควบคู่ไปด้วยกัน เช่น กินงาดำได้วันละ 4 ช้อนโต๊ะ หรือเต้าหู้ขาวแข็งวันละ 3 ขีดก็จะได้แคลเซียมราว 1,000 มิลลิกรัมอยู่แล้ว ถ้าไปหาแคลเซียมเม็ดมากินเติมอีก จะทำให้แคลเซียมเกินและไปจับกับหลอดเลือดทำให้ตีบแข็งได้
  4. กาแฟ กับ แคลเซียม ขอให้เลี่ยงกินแคลเซียมร่วมกับกาแฟ เพราะกาแฟจะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม นอกจากนั้นยังไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกอีกด้วย
  5. ธาตุเหล็ก กับ ภาวะเลือดจาง หรือธาลัสซีเมีย ขอให้ลืมความเชื่อที่ว่าถ้าเลือดจางต้องกินธาตุเหล็ก เพราะมันไม่เสมอไป หากเป็นเลือดจางชนิดธาลัสซีเมียแล้วไปกินธาตุเหล็กเสริม อาจเป็นอันตรายต่อหัวใจและตับได้

ยังมีคู่ยาหรืออาหารเสริมที่ดี และเป็นอันตรายต่อร่างกายอีกมาก หากไม่แน่ใจว่าที่เรากำลังกินอยู่อันตรายหรือไม่ สามารถปรึกษาเภสัชกรตามร้านขายยาใกล้บ้าน หรือสามารถพบแพทย์ประจำตัวที่เข้ารับการรักษาอยู่เป็นประจำได้เช่นกัน

ที่มา:sanook

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

12 สมุนไพร-ไม้หอมไทย แก้ปวดเมื่อย-คลายเครียด

 

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะประชาชนใช้พืชผักสมุนไพร ปรุงเป็นอาหาร และกลิ่นสมุนไพรจากธรรมชาติ เพื่อผ่อนคลายร่างกาย และจิตใจ ลดอาการตึงเครียด

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

แพทย์แนะ “วิตามิน” อะไร กินแล้วช่วยลดเสี่ยง “โควิด-19” ได้

 นอกจากอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่เราพยายามรับประทานกันอยู่ทุกวันแล้ว หลายคนอาจจะไม่แน่ใจว่าร่างกายของเราได้รับวิตามินที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคได้มากเพียงพอหรือเปล่า จึงอยากหาตัวช่วยเป็นการรับประทาน “วิตามิน” เพิ่ม