วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เจียวกู่หลาน กับ 10 สรรพคุณเด็ดน่ารู้ พร้อมข้อควรระวัง

 หลังจากที่กระแสออนไลน์กำลังพูดถึงน้ำสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของ “เจียวกู่หลาน” ว่ารสชาติดี และมีสรรพคุณที่คุ้มค่าเกินราคา จึงขอนำสรรพคุณสำคัญๆ ของเจียวกู่หลานมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

10 ประโยชน์ และข้อควรระวังของ “รางจืด”

 วันก่อนเห็นโพสจากคนทั่วไปในเฟซบุ๊คแฟนเพจหนึ่ง เขียนถึงประโยชน์ของ รางจืด ว่าใช้ป้อนสุนัขที่โดนวางยาเบื่อ แล้วรอดชีวิตมาได้อย่างหวุดหวิด ทำให้เราเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า รางจืดที่ว่า มีประโยชน์มากมายขนาดไหน ใช้ถอนพิษได้เชียวหรือ ถ้าใครสงสัยเหมือนกัน ลองมาอ่านประโยชน์ของรางจืดกันดู

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565

5 ข้อควรรู้ก่อนรับประทาน "ฟ้าทะลายโจร"

 อ. พญ.สุทธิมน ธรรมเตโช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata) มีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ สารต้านการอักเสบ จึงมักใช้รักษาอาการไข้หวัด และเชื่อว่าช่วยรักษาอาการของโรคโควิด-19 ได้

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

“ฟ้าทะลายโจร” กับข้อควรระวังเมื่อกินควบคู่กับยาตัวอื่นๆ

 กินฟ้าทะลายโจรกับพาราได้ไหม เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ฉะนั้นถ้ากินยาฟ้าทะลายโจรอยู่ ไม่ควรกินยาอะไรควบคู่กันไปในช่วงนั้นด้วย เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้  หาคำตอบมาให้ดังนี้

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

“ใบบัวบก” กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก

 “อกหักมาเหรอ ดื่มน้ำใบบัวบกสิ” ประโยคนี้อาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างตามบทละคร หรือในหมู่เพื่อนของเราเมื่อหลายปีก่อน แต่นอกจากใบบัวบกจะช่วยแก้ช้ำใจ เอ้ย ช้ำในแล้ว ใบบัวบกยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ไม่ต้องรอให้อกหักก่อนถึงจะกินได้ด้วย

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

3 ข้อควรรู้ก่อนกินอาหารเสริม "วิตามินซี"

 นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน อาจารย์ที่ปรึกษา แผนกศัลยศาสตร์หลอดเลือด ร.พ.พระมงกุฎเกล้า หรือ หมอท็อป แนะนำ 3 ข้อควรรู้ก่อนกินอาหารเสริมวิตามินซี เพื่อให้การกินวิตามินซีของเราได้ประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ยาชนิดไหนบ้างที่จำเป็นต้อง "กินให้หมด"

 ยาบางชนิดต้องกินให้หมดแม้ว่าจะอาการหายดีเป็นปกติแล้วก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วยาที่จำเป็นต้องกินให้หมดแม้ว่าจะรู้สึกว่าหายจากอาการป่วยแล้ว จะเป็น ยาฆ่าเชื้อ และ ยาสำหรับรักษาโรคประจำตัว

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

1 หรือ 2 เม็ด? กินยาพาราเซตามอลกี่เม็ด ดูได้ตามน้ำหนักตัว

 การกินยาพาราเซตามอลที่ข้างขวด หรือที่แผงยาบอกว่าให้กินครั้งละ 1-2 เม็ด ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง แล้วเราควรกินกี่เม็ด เรื่องนี้มีคำตอบจาก อ. นพ.ปณต สายน้ำทิพย์ ฝ่ายเภสัชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กินยา "พาราเซตามอล" ทุกวันอันตรายไหม

 ยาพารา หรือชื่อเต็ม พาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาสำหรับลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เป็นหนึ่งในยาที่ผู้คนเลือกใช้แรกๆ เมื่อมีอาการป่วย แต่ยาพาราเซตามอล กินแบบไหนถึงจะถูกต้อง กินต่อเนื่องจะอันตรายไหม วันนี้เรามาดูกัน 

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

9 ยารักษาโรคที่ต้องพกติดตัวเมื่อต้องเดินทางไปเที่ยว

 ไปเที่ยวทั้งที เตรียมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายต่างๆ แล้ว อย่าลืมพกยารักษาโรคไปด้วย เพราะหากเป็นอะไรที่ต่างที่ต่างถิ่น หากมีอาการผิดปกติขึ้นมา จะหมดสนุกเสียเปล่าๆ  นำคำแนะนำดีๆ จาก พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง) มาฝากหนุ่มๆ สาวๆ ชีพจรลงเท้ากัน

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565

“เมลาโทนิน” ช่วยให้หลับสบาย แต่ปลอดภัยต่อร่างกายจริงหรือ

 ใครที่มีปัญหานอนไม่หลับ อาจจะคุ้นเคยกับ “เมลาโทนิน” เป็นอย่างดี แม้จะช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น แต่หากกินเป็นประจำ จะส่งผลไม่ดีต่อร่างกายในอนาคตหรือไม่ ปลอดภัยมากแค่ไหน

วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2565

รวมลิงค์ลงทะเบียนรักษาโควิด-19 ด้วยระบบการแพทย์ทางไกล จัดส่งยาถึงบ้าน ฟรี!

 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวบรวมลิงค์สำหรับรักษาด้วยระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) พร้อมบริการจัดส่งยาถึงบ้าน ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มอาการไม่ได้ รุนแรง (สีเขียว)

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565

"คอเลสเตอรอล" สูงแค่ไหน ถึงต้องกินยาลด

 ผู้ที่มีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินไป จำเป็นต้องลดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาภายหลังได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ 

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

"ไซบูทรามีน" ในยาลดความอ้วนคืออะไร ทำไมถึงอันตรายถึงชีวิต

 อย. เตือน อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อวดอ้างสรรพคุณลดความอ้วนทางสื่อต่างๆ เสี่ยงต่อผลข้างเคียงสูง ซึ่งมีสาร "ไซบูทรามีน" อาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ แนะนำผู้มีน้ำหนักเกินควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายแทนการใช้ยา

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

6 เรื่องควรรู้ ก่อนใช้ยาเลื่อนประจำเดือน เพื่อยุติการตั้งครรภ์

 ยาเลื่อนประจำเดือน ใช้ยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่ต้องใช้อย่างถูกวิธีและเหมาะสม ตามวิจารณญาณและคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

"ยาฆ่าเชื้อ" กินอย่างไรให้ถูกวิธี ลดเสี่ยงอันตราย-ดื้อยา

 ยาฆ่าเชื้อ มักถูกทำมากินในหลายๆ โอกาส ทั้งๆ ที่ในหลายๆ ครั้ง อาจไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อเพื่อรักษา แถมยังกินผิดวิธีอีกด้วย ทำให้เสี่ยงอันตราย และอาจเพิ่มความเสี่ยงดื้อยาด้วย

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565

กินวิตามินทุกวัน อันตรายหรือไม่

 กินวิตามินอาหารเสริมบ่อยแค่ไหนถึงอันตราย แล้วต้องกินอย่างไรถึงจะปลอดภัยต่อร่างกายจริงๆ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565

มะม่วงหาว มะนาวโห่ มีสรรพคุณทางยามากถึง 50 ประการ

 ถ้าจะพูดถึงผลไม้ในบ้านเราที่ให้สรรพคุณทางยาก็มีอยู่หลากหลายชนิด แต่มีอยู่ชนิดหนึ่งที่ชื่อเรียกนั้นสะดุดหูซะเหลือเกินว่า "มะม่วงหาว มะนาวโห่" หลายคนที่เคยได้ยินชื่อนี้ก็ยังสงสัย สรุปแล้วมันเป็นมะม่วง หรือเป็นมะนาว แล้วทำไมต้องทั้งหาวและร้องโห่ 

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ยาแก้อักเสบ ไม่ใช่ ยาฆ่าเชื้อ ใช้ผิดอาจเสี่ยงดื้อยาในระยะยาว

 ทำความเข้าใจระหว่าง "ยาแก้อักเสบ" และ "ยาฆ่าเชื้อใหม่" ยาแก้อักเสบช่วยลดอาการปวดบวมอักเสบไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด แต่ยาฆ่าเชื้อไว้ใช้เมื่อต้องการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากกินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งๆ ที่อาการเจ็บคอจากหวัดมาจากเชื้อไวรัส จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงดื้อยาได้

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

วิจัยพบ กิน "เบต้าแคโรทีน-วิตามินอี" เสริม ไม่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ-มะเร็ง

 หลายคนมักหาซื้อวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เป็นอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และเพิ่มการป้องกันโรคต่างๆ และการกินวิตามินเสริมอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีเสมอไป เพราะคณะทำงานด้านบริการป้องกันของสหรัฐอเมริกา หรือ U.S. Preventive Services Task Force (USPSTF) ให้คำแนะนำเพิ่มเติมล่าสุดว่า วิตามินเสริมเหล่านี้อาจไม่ได้ช่วยป้องกันโรคอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่คร่าคนจำนวนมากอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์มีอะไรบ้าง และโทษที่ควรรู้ก่อนใช้

 แม้ว่ากัญชาจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคได้จริง ๆ แต่เฉพาะบางส่วนเท่านั้น และต้องใช้อย่างระมัดระวัง

กัญชา ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์มานานแล้ว แต่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่ทราบรายละเอียดว่า ส่วนประกอบไหนของกัญชาที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ รวมถึงการใช้อย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดโทษ หรือผลข้างเคียงต่อร่างกาย เนื่องจากกัญชายังถูกมองว่าเป็นยาเสพติดได้เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2565

รู้จักยา Evusheld อย. อนุมัติฉุกเฉิน ฉีดป้องกันโควิด-19 ให้เด็กอายุ 12 ขึ้นไป

วันที่ 29 มิ.ย.65 นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย.ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนยา Evusheld ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ภายใต้การอนุญาตแบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.ที่ผ่านมา

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เช็กเลย! ยาอะไรที่ห้ามกิน-กินได้ ก่อนบริจาคเลือด

 หลายคนอาจกังวลว่า ก่อนบริจาคเลือด ต้องหยุดยาที่ตัวเองกินเป็นประจำก่อนหรือไม่ มียาตัวไหนบ้างที่สามารถกินต่อได้ และตัวไหนที่ควรหยุดก่อนบริจาคเลือด

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

8 อันตราย-ผลข้างเคียงจากการกินใบกระท่อม ที่ควรรู้ก่อนกิน

นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ระบุว่า  ในใบกระท่อมพบว่ามีสารสำคัญ คือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง คล้ายฝิ่น แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าประมาณ 10 เท่า และ 7-hydroxymitragynine พบน้อยมากในใบกระท่อมสด แต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่ากว่ามอร์ฟีน 100 เท่า 

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

THC จากกัญชา ส่งผลต่อระบบประสาทมากแค่ไหน

 

THC หรือ Tetrahydroconnabinol เป็นสารที่พบมากในกัญชา มีผลทำให้รู้สึกเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย ส่วนประโยชน์ทางการแพทย์ ก็มีเช่น ลดอาการปวด ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ 

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

5 ข้อควรรู้ก่อนเลือก "ยาพ่น" สำหรับคนเป็น "ภูมิแพ้"

 เฟซบุ๊กเพจ ภูมิแพ้แก้ได้ Allergic march ระบุถึงข้อมูลการเลือกยาสเตียรอยด์พ่นจมูกให้เหมาะกับลูกๆ และผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ ดังนี้

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ประโยชน์ของใบกระท่อม และวิธีกินที่ถูกต้อง

 นอกจากกัญชาแล้ว ใบกระท่อมก็เป็นกินเป็นยาตามคำแนะนำของแพทย์แผนทางเลือกได้ด้วยเหมือนกัน แต่ต้องกินให้ถูกวิธีเท่านั้นถึงจะได้ประโยชน์

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ประโยชน์ของกัญชา ที่คุณอาจไม่รู้

 กัญชา เริ่มเข้ามามีบทบาทในเรื่องของสุขภาพในประเทศไทยมากขึ้น เมื่อกฎหมายเริ่มเปิดโอกาสให้คนไทยได้ใช้กัญชาในทางการแพทย์อย่างถูกต้อง

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

กัญชง กับ กัญชา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

 เราอาจเคยได้ยิน “น้ำมันกัญชา” ที่มีกระแสในโลกออนไลน์กับการนำมาใช้ในวงการแพทย์กันมาบ้างแล้ว แต่อาจจะยังมีอีกหลายคนที่อาจไม่รู้จัก “กัญชง” พืชที่ชื่อคล้ายกัญชาอย่างกับพี่น้อง แต่แม้ว่าลักษณะภายนอกจะคล้ายกันมาก แต่คุณสมบัติ และประโยชน์ในการทำไปใช้รักษาโรคต่างกัน

วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ทำไมใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" แล้ว แต่ไม่ได้ผล

 

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินที่สามารถทำได้โดยฝ่ายหญิงกินยาตามเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ผลวิจัยเผย วัคซีนเชื้อตาย ป้องกันโควิด-19 ในเด็กได้สูงถึง 90%

 หลังจากโรงเรียนทั่วประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกติ พร้อมรับเปิดเทอมให้นักเรียนกลับมาเรียนแบบออนไซต์ เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (ศบค.) ก็ได้มีการออกมาตรการเตรียมความพร้อมทางด้านสาธารณสุขสำหรับทั้งโรงเรียนประจำและโรงเรียนไป-กลับ เพื่อรับมือการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบและปลอดภัย

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ประโยชน์ใบกระท่อม กับการใช้เพื่อสุขภาพตามภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน

 ใบกระท่อมมีคุณสมบัตแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ แล้วแต่ละพันธุ์นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับร่างกายอย่างไรได้บ้าง ข้อมูลจาก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุว่า

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565

5 สิ่งควรรู้ก่อนใช้ “เมลาโทนิน” ช่วยการนอนหลับ

 ก่อนกินยานอนหลับที่มีส่วนประกอบจากเมลาโทนิน ควรรู้ 5 เรื่องนี้ก่อน เพื่อป้องกันผลข้างเคียงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565

วัคซีน "แอสตร้าฯ" ได้รับอนุญาตให้ใช้ฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ในยุโรป

 วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการอนุมัติให้ใช้เป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามในสหภาพยุโรป

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565

“ฝีดาษลิง” เริ่มระบาด มีวัคซีนป้องกันหรือไม่

โรคฝีดาษลิง ถ้าเกิดการระบาดขึ้นจริงๆ เราจะมีวัคซีนป้องกันโรคนี้หรือไม่


จากข่าวการระบาดของโรคฝีดาษลิงที่เริ่มเกิดขึ้นที่ประเทศแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ จนเริ่มเป็นที่กังวลของผู้เชี่ยวชาญและคนทั่วไปว่าโรคนี้ยังไม่ทราบที่มาที่ไปของสาเหตุที่ทำให้ระบาด ในขณะที่ประเทศไทยเองก็เริ่มตื่นตัวถึงการระบาดของโรคฝีดาษลิง และมีความกังวลว่าอาจจะมีโอกาสระบาดที่ไทยได้ผ่านการเดินทางของนักท่องเที่ยว

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เข้าใจใหม่ “ปลูกฝี” ไม่ใช่วัคซีนป้องกัน “ฝีดาษ”

 คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจผิดเรื่องการปลูกฝีว่ายังมีอยู่ แต่จริงๆ แล้วในไทยเลิกปลูกฝีตั้งแต่ปี 2517


ปลูกฝี” เป็นหนึ่งในการฉีดวัคซีนที่คนไทยส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า หมายถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรค “ฝีดาษ” หรือ “ไข้ทรพิษ” แต่อันที่จริงแล้วไม่ใช่

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กระชายขาว สมุนไพรไทย มีประโยชน์-สรรพคุณอะไรบ้าง

ทุกวันนี้ยอดการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มสูงอยู่ เป็นผลสืบเนื่องจากเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ ทำให้เชื้อรุนแรงขึ้นและแพร่ระบาดง่ายกว่าเดิม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการติดต่อจากคนในครอบครัว เพราะฉะนั้นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการมีตัวช่วยที่ดี จะช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสได้ โดยในปัจจุบันสมุนไพรไทยอย่าง “กระชายขาว” ถือว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่นิยมมีไว้ติดบ้าน เพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย 

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

รู้จัก “อัลปราโซแลม” ยารักษาโรคทางจิต-ประสาท แต่ถูกใช้ทำเป็น “ยาเสียสาว”

 ปกติแล้ว ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) เป็นยาใช้รักษาอาการวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับได้สนิทในคนที่มีปัญหา แต่มีการนำมาใช้ในทางที่ผิด จนหลายคนเข้าใจว่าเป็น "ยาเสียสาว"


ยาอัลปราโซแลม คืออะไร

ผศ.นพ.สุวิทย์  เจริญศักดิ์ แพทย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า ยา อัลปราโซแลม (Alprazolam) เป็นยาที่สั่งจ่ายให้ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาหรือรักษาอาการวิตกกังวลและอาการตื่นตระหนก หรือใช้เป็นยานอนหลับในกรณีที่จำเป็นที่มีประสิทธิภาพดีในทางรักษา และยังใช้คลายกล้ามเนื้อลาย (muscle relaxants) และต้านอาการชัก (antiepileptics) ได้อีกด้วย


ยาอัลปราโซแลมที่แพทย์ใช้มีอยู่ 3 ขนาด คือ 0.25 มิลลิกรัม 0.5 มิลลิกรัม และขนาด 1 มิลลิกรัม โดยมีรูปร่างเม็ดรี สีที่เฉพาะตามขนาด คือสีขาว สีชมพู และสีม่วง ตามลำดับ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเลือกขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ยานี้ออกฤทธิ์เร็วหลังจากรับประทานไปประมาณ 20 นาที


ยาอัลปราโซแลม ในคราบของยาเสียสาว

ผลข้างเคียงจากยาอัลปราโซแลม คือ 


  • ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (anterograde amnesia) ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง 
  • สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลง

การใช้ยาอัลปราโซแลม พบว่าผู้ที่ใช้ยาอาจมีอาการหลงลืม โดยจะจำเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ได้หลังจากที่รับประทานยาไป ทำให้เป็นที่มาในการใช้ยานี้เพื่อล่วงละเมิดทางเพศ เพราะเหยื่อจะจำเหตุการณ์ไม่ได้ แต่ฤทธิ์ของยาจะคงอยู่ไม่เกิน 1 วัน และถ้าดื่มน้ำมากๆ ยาก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะจนหมด  


อันตรายจากการใช้ยาอัลปราโซแลม

นอกจากการลักลอบใช้ยาอย่างไม่ถูกวิธีแล้ว ยาอัลปราโซแลมยังมีผลข้างเคียงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้


  1. การใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติดยาได้ทั้งร่างกายและจิตใจ
  2. อาจเกิดผลตรงข้ามกับฤทธิ์ของยาที่ให้ (paradoxical reaction)
  3. อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ หรือไตได้
  4. หากหยุดยากะทันหันจะเกิดอาการขาดยา มีอาการคลื่นไส้ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว กระสับกระส่าย ซึมเศร้า เป็นโรคจิต หรืออาจถึงกับชักได้
  5. หากต้องรับประทานร่วมกับยาตัวอื่น เช่น ยากดหรือกระตุ้นประสาท ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะมียาหลายชนิดที่มีปฏิกิริยาต่อระดับอัลปราโซแลมในกระแสเลือดจนทำให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงได้ 
  6. หากรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาจะออกฤทธิ์ทำให้กดประสาทมากขึ้นและอาจกดการหายใจ ส่งผลให้หยุดหายใจได้
  7. สตรีมีครรภ์ สตรีระยะให้นมบุตร โรคต้อหิน โรคไมแอส ตีเนียแกรวีส (myasthenia gravis) โรคพอร์ไฟเรีย (porphyria) หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
  8. หากมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ กล้ามเนื้อเปลี้ย หรือมีไข้ ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์

ดังนั้นการใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ที่เชี่ยวชาญ มีข้อบ่งชี้ในการใช้และติดตามว่ายังมีความจำเป็นในการใช้อยู่หรือไม่ หยุดใช้เมื่อเหมาะสม


วิธีระมัดระวังในการใช้ยาอัลปราโซแลมในทางที่ผิด

ปัจจุบันมีการควบคุมการใช้ยาอัลปราโซแลมอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการใช้ยาในทางที่ผิด โดยยาอัลปราโซแลมถูกควบคุมให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559


หากยาอัลปราโซแลมอยู่ในมือของแพทย์ก็จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ แต่หากอยู่ในมือของผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากผู้อื่นในทางมิชอบ ก็จะกลายเป็นอันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน เนื่องจากยาอัลปราโซแลม เป็นสารประกอบที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ถ้านำไปผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้ผู้ที่ดื่มมีอาการง่วงซึม มึนงง สูญเสียการทรงตัวและสูญเสียความทรงจำ ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มต้องระมัดระวังกันมากขึ้น ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มาจากคนแปลกหน้า คนที่ไม่สนิท ไม่น่าไว้วางใจ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแก้วเดิมหลังจากที่ลุกออกจากโต๊ะไปแล้ว รวมถึงไม่ดื่มกับคนที่ไม่น่าไว้วางใจกันสองต่อสอง


หากสงสัยว่าตัวเองอาจถูกวางยาอัลปราโซแลม ให้รีบพาตัวเองออกมาจากคนที่ไม่น่าไว้ใจ และติดต่อขอความช่วยเหลือจากคนอื่นให้เร็วที่สุด รวมถึงพยายามดื่มน้ำมากๆ ให้ยาถูกขับออกมาทางปัสสาวะให้ได้เร็วที่สุดก็จะช่วยได้บ้าง


ที่มา:sanook

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

วัคซีน "โควิด-19" เข็ม 4 จำเป็นแค่ไหน เมื่อ "โอไมครอน" ยังระบาด

 การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในประเทศไทยยังอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวล ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทำลายสถิติอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ย 7 วันเกิน 20,000 คนมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ประเด็นเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นจึงกลายเป็นเรื่องที่สังคมกลับมาให้ความสนใจอีกครั้ง ผศ.นพ. มนต์เดช สุขปราณี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้ให้มุมมองว่า หากจะรับมือกับโอไมครอนอย่างอยู่หมัด วัคซีนเข็มสี่อาจมีความจำเป็น

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

วิจัยฮ่องกงชี้ วัคซีน "ซิโนแวค" 3 เข็ม ลดป่วยรุนแรงจาก “โอมิครอน” ได้

 ซิโนแวค ไบโอเทค เผยผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) ระบุว่า การได้รับวัคซีนซิโนแวค (Sinovac) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac)” 3 เข็ม สามารถป้องกันการเสียชีวิตหรือความเจ็บป่วยรุนแรงได้ 98% ในคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งเป็นข้อมูลที่เน้นย้ำถึงความสำคัญของวัคซีนเข็มกระตุ้นแก่ผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2565

ข้อมูลชี้ วัคซีนแอสตร้าฯ-mRNA ลดเสี่ยงป่วยหนัก-เสียชีวิตได้ใกล้เคียงกัน

 วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีน mRNA ล้วนมีประสิทธิผลเท่ากันในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565

แพทย์ตอบ ยา "สมุนไพร" รักษา "มะเร็ง" ได้จริงหรือไม่

 สมุนไพรแบบยาลูกกลอน รักษามะเร็งได้จริงหรือ ทำไมบางคนบอกว่ากินแล้วรู้สึกอาการดีขึ้น มาอ่านคำตอบจากแพทย์กัน

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565

อันตรายจากการ "กินยา" พร้อม "เครื่องดื่มแอลกอฮอล์"

 หลายคนอาจจะเคยได้ยินว่าห้ามรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเรียกภาษาบ้านๆ ว่าดื่มเหล้าแทนน้ำเปล่านั่นแหละ สาเหตุที่ห้ามดื่มก็เพราะอาจจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ใครที่กำลังสงสัยว่าจริงรึเปล่า ตอบได้เลยว่า จริง 

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565

เตือน! ป่วย "โควิด-19" อย่าซื้อยา "ฟาวิพิราเวียร์" กินเอง

 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์นั้น ต้องผ่านดุลยพินิจของแพทย์ เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของผู้ใช้ ดังนั้นจึงไม่ควรรับยามากินเอง

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2565

"ยาฟ้าทะลายโจร" กินอย่างไร เพื่อรักษาโควิด-19

 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุไว้ในโพสต์เฟซบุ๊กว่า “ถึงแม้ว่าเราฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อไปแล้วแต่ก็ยังคงติดอีกได้ ดังนั้น เตรียมตัวรักษาทันที ตั้งแต่นาทีแรกที่ติด”

วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

ไขข้อสงสัย "ขิง" ต้าน "โควิด-19" ได้มากน้อยแค่ไหน

 น้ำขิงที่จิบกันบ่อยๆ ในช่วงโควิด-19 ระบาด ช่วยรักษาหรือป้องกันโควิด-19 ได้มากน้อยแค่ไหน


ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ขิง เป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยจะใช้ส่วนเหง้าของขิงรับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับผายลม เจริญอากาศธาตุ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

10 อาการอันตรายของ "เด็ก 5-11 ปี" หลังฉีดวัคซีน "โควิด 19" ที่ควรรีบพบแพทย์ทันที

 กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครองสังเกตอาการเด็กอายุ 5-11 ปี หลังได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (Pfizer) สูตรสำหรับเด็ก หลังพาบุตรหลานไปรับวัคซีนไฟเซอร์สูตรสำหรับเด็ก สังเกตอาการหลังฉีด 30 นาที งดการออกกำลังกาย และกิจกรรมที่ใช้แรงอย่างหนัก