วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ระวัง! 5 ยาอันตรายขายเกลื่อนเน็ต เสี่ยงเสียชีวิต


 การก้าวเข้ามาของโลกออนไลน์ ทำให้ชีวิตเราง่ายไปหมด อยากได้อะไรเราก็สามารถเลือกซื้อเลือกหา จ่ายเงิน รอรับของที่บ้านเพียงผ่านแค่ปลายนิ้ว และสมาร์ทโฟนเครื่องเท่ามือข้างเดียว แต่เทคโนโลยีนี้ดันเหมือนเหรียญสองด้าน ของที่ไม่ควรขายกันง่ายๆ ก็ดันวางขายกันเกลื่อน หาซื้อได้ง่ายราวกับลูกอม หรือหมากฝรั่ง โดยเฉพาะ “ยารักษาโรค” ที่ควรจะให้สิทธิ์ขายแค่เพียงเภสัชกรที่ร่ำเรียนมาหลายปีเพื่อประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับยาโดยเฉพาะ

ดังนั้น หากเห็นยาตัวไหนขายในอินเตอร์เน็ต โดยไม่ได้มาจากเภสัชกร ก็ถือว่าเป็นเรื่องผิดแล้ว ยิ่งมาเจอยาอันตรายที่ขายกันเกลื่อนเต็มไปหมด ก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ จะมียาอะไรที่เราอาจได้พบเจอ และไม่ควรซื้อมาทานเด็ดขาดบ้าง มาดูคำแนะนำจาก อย. กันค่ะ

 

ยาอันตรายขายเกลื่อนเน็ต เสี่ยงเสียชีวิต

  1. ยามหัศจรรย์

ยามหัศจรรย์มาพร้อมคำโฆษณาชวนเชื่อที่มักใช้คำทำนองว่า “หายขาดแน่นอน” “วิเศษ” “ดีที่สุด” หรือแม้กระทั่ง “ผลงานวิจัยล่าสุด” แต่พอหาข้อมูลจริงๆ กลับไม่เจอ หรือไม่น่าเชื่อถือ หนำซ้ำยังมีส่วนผสมของ “สเตียรอยด์” ที่เป็นสารต้องห้าม ที่ต้องได้รับการควบคุมการใช้จากแพทย์เท่านั้นอีกด้วย

สเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ ทำให้อาการปวดที่มีลดลง รู้สึกมีกำลังวังชาขึ้นมาในเวลาอันสั้น จึงทำให้คนที่ทานยานั้นๆ รู้สึกว่ายาออกฤทธิ์ดี ได้ผลจริง แต่จริงๆ แล้ว หากทานยาที่มีสเตียรอยด์เข้าไปนานๆ อาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ ลดภูมิต้านทานโรคในร่างกาย ร่างกายติดเชื้อได้ง่าย บดบังอาการของโรค ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากขึ้น และหากมีอาการหนัก หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะ หรือหยุดเต้น จนทำให้เสียชีวิตได้

 

  1. อาหารเสริมลดความอ้วน

มาพร้อมกับคำโฆษณาชวนเชื่อว่า “ลดจริง พิสูจน์ได้” “รับประกัน ไม่โยโย่” “กิโลภายใน 1 อาทิตย์” หรือ “ดื้อยาก็ลดได้” จริงๆ แล้วส่วนใหญ่มักใส่สารไซบูทรามีน ที่ออกฤทธิ์ต่อประสาทส่วนกลาง ทำให้ไม่รู้สึกอยากอาหาร แต่เมื่อทานไซบูทรามีนติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกิดอาการติดยา ประสาทหลอน ไตวาย ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดตีบตัน จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

  1. อาหารเสริมเร่งผิวขาว

มาพร้อมกับคำโฆษณายั่วเงินในกระเป๋าของคุณผู้หญิงหลายคนที่อยากขาวว่า “ขาวออร่า” “ขาวอมชมพู” “14 วัน ขาว เนียน ใส ไรฝ้า” “สวยขาวจากภายในสู่ภายนอก” จริงๆ แล้วอาหารเสริมประเภทนี้ส่วนใหญ่มักลักลอบใส่ยาที่มีฤทธิ์ห้ามเลือด โดยนำผลข้างเคียงของมาใช้รักษาฝ้า หรือทำให้ผิวขาวขึ้น ทั้งที่ยังไม่มีผลวิจัยยืนยันอย่างแท้จริง

นอกจากนี้ หากทานติดต่อกันนานๆ อาจมีอันตรายทำให้เกิดลิ่มเลือด จนอุดตันเส้นเลือดต่างๆ ในร่างกาย หากลิ่มเลือดไปอุดตันที่ปอด อาจทำให้หายใจไม่ออก หรือหากลิ่มเลือดไปอุดตันที่เส้นเลือดในสมอง ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้

 

  1. ครีมทาสิว ฝ้า หน้าขาว

มาพร้อมกับโฆษณาว่า “ขาวจริงใน วัน” “ขาวใสขั้นเทพ” หรือ “ขาวจริง ขาวไว” ที่ขาวได้ขนาดนี้ เพราะผู้ผลิตมักลักลอบผสมสารอันตรายเข้าไปหลายตัว ไม่ว่าจะเป็นไฮโดรควิโนน ปรอทแอมโมเนีย สเตียรอยด์ กรดวิตามินเอ ที่ทำให้หน้าขาวเร็ว แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ ผื่นขึ้น สิวบุก ผิวหน้าลอก ไวต่อแสงเกินไป จนหน้าพังถาวรได้

 

  1. อาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศ

มาพร้อมคำโฆษณาที่ยั่วกิเลสท่านชายว่า “ใหญ่ยาว เพิ่มขนาด” “อึด ทน นาน” หรือ “ทำจากสมุนไพรธรรมชาติ” แต่ความเป็นจริงแล้วลักลอบผสมซิลเดนาฟิล ซึ่งเป็นยาที่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ หน้าแดง มึนงง เกิดอาการช็อก หัวใจวายเฉียบพลัน และอาจเสียชีวิตได้

 

นอกจากนี้กลุ่มยาแก้ไอ แก้ปวด แก้แพ้ ที่ลักลอบขายอย่างผิดจุดประสงค์ คือ ขายยาเพื่อใช้เสพเป็นของมึนเมา โดยมาพร้อมโฆษณาว่า “เมาง่าย” “ราคาไม่แพง” “ไม่ขม” “ไม่ใช่ยาเสพติด ฉี่ไม่ม่วง” หรือ “ครูไม่รู้ ตำรวจไม่จับ” เช่น ยาทรามาดอลทานร่วมกับยาน้ำเชื่อมแก้แพ้ แก้ไอ หรือที่เรียกว่า “ยาโปร” จะส่งผลต่อสุขภาพทั้งระยะสั้น และระยะยาว และเกิดการเสพติดได้

ผลร้ายต่อร่างกาย คือ หากทานเป็นเวลานาน จะเกิดอาการประสาทหลอน ระบบประสาททำงานช้าลง และหากได้รับยาเกินขนาด อาจทำให้ชัก เกร็ง กล้ามเนื้อกระตุก หัวใจหยุดเต้น จจนอาจเสียชีวิตได้

ทางที่ดีคือ ก่อนซื้อยาทาน ควรปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง และหากมีอาการเจ็บป่วย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง อยากลดน้ำหนัก ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย อยากขาวต้องใช้ครีมกันแดด และอย่าใช้ยาผิดประเภท จะได้ไม่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิตก่อนวัยอันควรค่ะ

ที่มา:sanook

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ผู้สูงอายุ" จำเป็นต้องกิน "อาหารเสริม" หรือไม่?


 “อาหารเสริม” ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารที่เสริมเพิ่มเติมขึ้นมาจากอาหารปกติ ที่เราต้องกินอาหารเสริมก็เพื่อทดแทนสารอาหารบางอย่างที่เราอาจจะขาด หรือได้รับไม่เพียงพอจากอาหารมื้อปกติที่เรากินอยู่ทุกวัน รวมถึงในบางคนที่ร่างกายผิดปกติจนทำให้เราได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยกว่าคนธรรมดาที่มีสุขภาพร่างกายปกติ

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563

"น้ำตาเทียม" ตัวช่วยของคนตาแห้ง กับข้อควรรู้ในการเลือกใช้ให้เหมาะสม


 หลายคนอาจไม่เชื่อว่า หยดน้ำหยดเล็กๆ อย่าง “น้ำตา” จะมีหน้าที่สำคัญและส่งผลต่อสุขภาพของคุณได้ น้ำตาช่วยให้กระจกตาและเยื่อบุตาชุ่มชื้น ช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ช่วยกำจัดของเสียออกจากกระจกตา ทั้งยังช่วยป้องกันกระจกตาติดเชื้อได้ด้วย หากต่อมน้ำตาผลิตน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ ก็มักจะส่งผลให้เกิดอาการตาแห้ง ระคายเคืองตา ตาพร่า มองเห็นไม่ชัด เป็นต้น แต่ปัญหานี้ก็แก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยการใช้ น้ำตาเทียม ว่าแต่น้ำตาเทียมจะมีกี่ชนิด แล้วคุณควรเลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้องเหมาะสม Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้ว

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563

รู้จักภาวะ “ผิวหนังติดสเตียรอยด์” เมื่อใช้กับผิวหนังนานเกินไป

 


หากใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์กับผิวหนังนานเป็นปีๆ อาจเสี่ยงภาวะผิวหนังติดสเตียรอยด์ และมีผลกระทบต่อผิวหนังอย่างรุนแรงได้

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563

“วิตามิน” ไม่ใช่ “ยา” ความคล้ายที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด



 ร่างกายของคนเรา มีสารต่างๆ ประกอบอยู่ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน น้ำตาล วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ การได้รับ “วิตามิน” ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะวิตามินสามารถช่วยบำรุงและฟื้นฟูสุขภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับและไต แตกต่างกับ “ยา” ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นประจำ อาจส่งผลเสียต่อตับและไตได้ บทความฉบับนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิตามิน และ ยา จากทีมเภสัชกรไบโอฟาร์มมาฝากกัน

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

อย. เรียกคืนยาโรคซึมเศร้า Norline tablets เสี่ยงออกฤทธิ์น้อย-ต้องกินเพิ่มจนเป็นอันตราย

 



อย. เรียกคืนยารักษาโรคซึมเศร้า Norline tablets หลังผลวิเคราะห์การรละลายผิดมาตรฐาน ผู้ป่วยอาจต้องเพิ่มขนาดยาในการรับประทานจนอาจเป็นอันตราย

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"ยาปฏิชีวนะ" คืออะไร และมันไม่ใช่ "ยาแก้อักเสบ"



 ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ “ยาปฏิชีวนะ” มันคืออะไร ต่างจากยาปกติอย่างไร และเป็นยาชนิดเดียวกับยาแก้อักเสบหรือไม่ มีคำตอบจาก ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาบอกกัน

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

“ยาสเตียรอยด์” เสี่ยงอันตราย หากเลือกใช้ไม่ถูกกับโรค

 


 

"สเตียรอยด์" เป็นสารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย หากใช้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย แต่หากใช้ผิดก็มีโทษมหันต์ อาจเกิดผลข้างเคียงได้ โดยเฉพาะโรคทางผิวหนัง หากทายาเป็นเวลานาน

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

วิธีเก็บยา-ทิ้งยา ที่ถูกต้อง ป้องกันยาเสื่อมสภาพก่อนเวลา



 การจัดเก็บยา และ การกำจัดยา ถือว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนควรศึกษากันเป็นอย่างมาก เพราะถ้าหากคุณมีการจัดระเบียบยาให้ถูกวิธี ยาเหล่านี้ก็อาจมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้นและไม่เสื่อมสภาพก่อนถึงกำหนดหมดอายุ งมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีจัดเก็บยา พร้อมกับ การกำจัดยา เบื้องต้นมาฝากให้ทุกคนได้ทราบกัน

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สมาคมจิตแพทย์ฯ แจง 10 ผลกระทบต่อจิตใจ จากข่าวสถานการณ์บ้านเมือง



 จากสถานการณ์บ้านเมืองที่ค่อนข้างดุเดือด เป็นที่พูดถึงอย่างหนาหูทั้งในชีวิตจริงและโลกออนไลน์ เหตุการณ์บ้านเมืองเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเราอย่างไรบ้าง  มีข้อมูลจาก สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มาฝากกัน

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563

"น้ำสมุนไพรแก้โรคมะเร็งในกระดูก" ได้ผลจริงหรือไม่?



 เคยได้ยินเรื่องน้ำสมุนไพรแก้โรคมะเร็งในกระดูกกันบ้างไหม? ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร มีข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาฝากกัน

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เข้าใจใหม่! รู้สึกเหมือนจะป่วย “กินยาดัก” ไม่ได้ช่วยอะไร



 หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินหรือประสบกับตนเองกันมาบ้าง หากวันไหนที่เราเปียกฝน ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมักจะเตือนเราเสมอว่า “เดี๋ยวไม่สบายนะ ไปกินยาดักไว้ก่อน” ซึ่งเราก็คงกินบ้างไม่กินบ้างแล้วแต่อารมณ์ แต่ในเมื่อเรายังไม่ได้ป่วย หรืออาจจะไม่ป่วยก็ได้ เราสามารถกินยาเพื่อดักไข้ได้จริงๆ เหรอ?

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ทำไมถึงไม่ควร “กินยากับนม”?



 เรามักได้ยินอยู่เสมอว่าไม่ควรกินยาพร้อมกับนม แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าเหตุผลที่แท้จริงคืออะไร และถ้ากินคู่กันแล้วจะมีอันตรายหรือไม่ จึงรวบรวมข้อมูลที่จะช่วยไขข้อสงสัยนี้มาฝากกัน

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563

"กาแฟถั่งเช่า" ลดอาการปวดข้อ ปวดหลังได้จริงหรือ?



 “กาแฟถั่งเช่า เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาตามสื่อต่างๆ มากมาย ว่ามีสรรพคุณช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยทางร่างกายต่างๆ เช่น ปวดข้อ และปวดหลัง ในความเป็นจริงกาแฟถั่งเช่าสามารถรักษา หรือบรรเทาอาการเหล่านี้ได้จริงหรือไม่  มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. มาฝากกัน

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

"ยาเสียสาว" มีจริงหรือ? ป้องกันอันตรายได้อย่างไร?



 อาจจะเคยได้ยินคำว่า “ยาเสียสาว” ในอินเตอร์เน็ต หรือในข่าวรายวันกันมาบ้าง จริงๆ แล้วยาเสียสาวมีอยู่จริงหรือไม่ ส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเราอย่างไร และมีวิธีป้องกันการบริโภคเข้าไปโดยไม่รู้ตัวได้บ้างหรือไม่ ขอนำข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกัน

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563

สงสัยไหม? ยาที่เรากิน ทำไมรู้ว่าต้องไปออกฤทธิ์ที่ไหน?



 ชีวิตนี้คงไม่มีใครที่ไม่เคยกิน “ยา” หรอกใช่ไหม อย่างน้อยที่สุดในชีวิตก็คงต้องเคยกินสักเม็ดสองเม็ดนั่นแหละ แต่เคยนึกสงสัยหรือไม่ ว่ายาพาราเซตามอล (ยาแก้ปวดหัว) รู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังปวดหัว แล้วจะต้องทำให้เราหายปวดหัว หรือยาแก้แพ้ รู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังแพ้อากาศ แล้วต้องทำให้อาการแพ้ของเราดีขึ้น ยานั้นฉลาดขนาดนั้นเลยเหรอ? ถ้าอย่างนั้น ยาที่เรากินเข้าไปมีกลไกการทำงานในร่างกายอย่างไร?

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563

สัญญาณอันตราย ร่างกายกำลัง "แพ้ยา"



 อาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราต้องกินยาตัวนั้นเข้าไป เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ถึงจะสงสัยได้ว่าอาจเป็นเพราะยา หรืออาหารที่กินเข้าไปล่าสุด แต่อาการที่ว่าผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้หลังกินยาที่ทำให้แพ้จะมีอะไรที่เราสามารถสังเกตได้บ้าง  มีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกัน

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2563

อันตรายจากอาหารเสริม "เมลาโทนิน" สำหรับคนนอนไม่หลับ

 


ใครที่นอนไม่หลับแล้วซื้ออาหารเสริมที่มีเมลาโทนินเป็นส่วนประกอบ ระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายในระยะยาวได้ หากนอนไม่หลับควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการ

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2563

ผลข้างเคียงของ “วัคซีนมะเร็งปากมดลูก” ที่อาจเกิดขึ้นได้



 ประเด็นเรื่อง “วัคซีนมะเร็งปากมดลูก” ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเป็นสาเหตุเสียชีวิตของเด็กได้หรือไม่ เฟซบุ๊กเพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ให้ข้อมูลถึง “ผลข้างเคียง” ที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ยัน "หญ้าลิ้นงู" ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง



 ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง หญ้าลิ้นงูยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง กรมการแพทย์ โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่าหญ้าลิ้นงูสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563

"ยาเลื่อนประจำเดือน" ใช้อย่างไรถึงจะปลอดภัย

 

หากไม่อยากเป็นวันนั้นของเดือน ยาเลื่อนประจำเดือนช่วยได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี มิฉะนั้นอาจส่งผลต่อการมีประจำเดือนในครั้งถัดๆ ไป

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

4 วัคซีนที่ “ผู้ใหญ่” ควรฉีดเพื่อป้องกันโรค

 ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าเด็ก แต่สำหรับบางโรค แม้ว่าเราจะเคยฉีดวัคซีนแล้วตอนเด็กๆ ระดับภูมิคุ้มกันกลับค่อยๆ ลดลงจนไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรคอีกต่อไป  นอกจากนี้ยังมีโรคที่อุบัติใหม่ขึ้นอยู่เสมอ ทำให้มีการค้นพบวัคซีนใหม่ๆ ดังนั้นวัคซีนจึงไม่ใช่สิ่งที่ใช้เฉพาะเด็กเล็กอีกต่อไป พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Check-Up Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จะมาเล่าถึงวัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ว่ามีอะไรบ้าง

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

อันตรายจาก "ยาไซลาซีน" ยาสลบของสัตว์ที่โจรใช้กับคนเพื่อปล้นทรัพย์

 แม้ว่าเรื่องยาป้ายจะไม่ใช่เรื่องจริง แต่เรื่องยาที่ใส่ในเครื่องดื่ม และอาหารที่ทำให้สลบ หรือทำให้คนที่กินเข้าไปมีอาการผิดปกติจนอาจไม่มีสติ จนทำให้มิจฉาชีพถือโอกาสเข้าปล้นทรัพย์มีอยู่จริง ล่าสุดกับ “ยาไซลาซีน” ที่ถูกจัดเป็นยาอันตราย แต่มีการลักลอบนำมาใช้ด้วยเจตนาที่ไม่ดี  จึงรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับยาชนิดนี้ให้ทุกคนได้รู้จัก และระมัดระวังกันเอาไว้

วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สัญญาณอันตราย ร่างกายกำลัง "แพ้ยา"

อาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราต้องกินยาตัวนั้นเข้าไป เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ถึงจะสงสัยได้ว่าอาจเป็นเพราะยา หรืออาหารที่กินเข้าไปล่าสุด แต่อาการที่ว่าผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้หลังกินยาที่ทำให้แพ้จะมีอะไรที่เราสามารถสังเกตได้บ้าง  มีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกัน

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563

"ยาเลื่อนประจำเดือน" ใช้อย่างไรถึงจะปลอดภัย

หากไม่อยากเป็นวันนั้นของเดือน ยาเลื่อนประจำเดือนช่วยได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี มิฉะนั้นอาจส่งผลต่อการมีประจำเดือนในครั้งถัดๆ ไป

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

"ยาเสียสาว" คืออะไร มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

"ยาเสียสาว" เป็นอย่างไร กินแล้วมีอาการอย่างไร และเราจะหลีกเลี่ยงการได้รับยานี้ได้อย่างไร มีข้อมูลจาก กรมการแพทย์ โดยสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) มาเตือนภัยทุกคน โดยเฉพาะผู้หญิง และเยาวชน

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ทีมวิจัยไทยพบ สารสกัดจาก "กระชายขาว" มีฤทธิ์ต้าน "โควิด-19"

เตรียมจดสิทธิบัตร งานวิจัยของม.มหิดล และ TCELS กับความสำเร็จในการพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรคโควิด-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการวิจัยและพัฒนาให้สำเร็จ

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

4 วัคซีนที่ “ผู้ใหญ่” ควรฉีดเพื่อป้องกันโรค

ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงกว่าเด็ก แต่สำหรับบางโรค แม้ว่าเราจะเคยฉีดวัคซีนแล้วตอนเด็กๆ ระดับภูมิคุ้มกันกลับค่อยๆ ลดลงจนไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรคอีกต่อไป  นอกจากนี้ยังมีโรคที่อุบัติใหม่ขึ้นอยู่เสมอ ทำให้มีการค้นพบวัคซีนใหม่ๆ ดังนั้นวัคซีนจึงไม่ใช่สิ่งที่ใช้เฉพาะเด็กเล็กอีกต่อไป พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก Addlife Check-Up Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) จะมาเล่าถึงวัคซีนที่จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ว่ามีอะไรบ้าง

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

รู้จัก "กัวซา" การถอนพิษตำหรับแพทย์แผนจีน

ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ ขณะเดียวกันอาจหลงลืมดูแลเรื่องของสุขภาพร่างกายเนื่องจากต้องใช้เวลาในการรักษาระยะเวลาที่นาน ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง การเพิกเฉยเหล่านี้อาจทำให้มีโรคตามมาอย่างไม่รู้ตัว วันนี้ Hello คุณหมอมีการรักษาทางการแพทย์อีกแขนงหนึ่งที่เรียกว่า กัวซา มาแนะนำ

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

“วิตามิน” ไม่ใช่ “ยา” ความคล้ายที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิด

ร่างกายของคนเรา มีสารต่างๆ ประกอบอยู่ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน น้ำตาล วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ การได้รับ “วิตามิน” ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะวิตามินสามารถช่วยบำรุงและฟื้นฟูสุขภาพ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับและไต แตกต่างกับ “ยา” ซึ่งหากใช้ติดต่อกันเป็นประจำ อาจส่งผลเสียต่อตับและไตได้ บทความฉบับนี้ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ วิตามิน และ ยา จากทีมเภสัชกรไบโอฟาร์มมาฝากกัน

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

“ยาปฏิชีวนะ” ใช้อย่างไร ไม่เสี่ยง “เชื้อดื้อยา”

หากไม่อยากเป็นโรคที่ใช้ยาถูก ๆ ไม่ได้ ต้องใช้ยาแรง ๆ แพง ๆ หรือไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาเหมือนคนอื่น ควรใช้ยาปฏิชีวนะให้ถูกต้อง ไม่สุ่มสี่สุ่มห้าซื้อมากินเองเด็ดขาด

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2563

โควิด-19: “ยาแก้อักเสบ” อาจทำให้เชื้อไวรัสทวีความรุนแรงขึ้น

รัฐบาลฝรั่งเศสออกโรงเตือนประชาชนถึงการรับประทานยาแก้อักเสบที่สามารถหาซื้อได้เองที่ร้านขายยาทั่วไปว่า ยาแก้อักเสบอาจทำให้อาการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 แย่ลงกว่าเดิมได้

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

นักวิทย์เตือน วัคซีน "โควิด-19" หากพัฒนาเร็วไปอาจส่งผลเสียได้


ขณะนี้บริษัทผู้ผลิตยาต่าง ๆ พยายามพัฒนาวัคซีนต้านโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่โดยเร็วที่สุดเพื่อชะลอการแพร่ระบาดของโรคนี้

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563

ไวรัสโคโรนา: “ฟ้าทะลายโจร” ป้องกัน “โควิด-19” ได้หรือไม่?

“ฟ้าทะลายโจร” เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นสมุนไพรที่คนทั่วไปกินเพื่อบรรเทาอาการไข้หวัด แต่สำหรับอาการไข้หวัดที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณในการรักษา หรือป้องกันด้วยหรือไม่?

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

เมื่อไรวัคซีนป้องกัน “โควิด-19” จะใช้กับมนุษย์ได้?

มีข่าวว่าทีมแพทย์ และทีมวิจัยของหลายประเทศเริ่มคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือไวรัสโควิด-19 จะเริ่มมีการทดลองกับมนุษย์ในเดือนเมษายนนี้ แต่จะใช้กับคนได้จริงๆ เมื่อไร

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

กิน "ยา" เกินขนาด ภัยอันตรายถึงชีวิต

การ กินยาเกินขนาด (Drug Overdose) อาจเกิดจากอุบัติเหตุ รวมถึงการทำลงไปโดยเจตนาก็ได้เช่นกัน การกินยาเกินขนาดนั้นคือการบริโภคยามากเกินกว่าที่แพทย์กำหนด ซึ่งเมื่อทานเข้าไปแล้วอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมไปถึงอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้ ดังนั้นเรื่องของการกินยาเกินขนาด จึงเป็นเรื่องสำคัญต้องศึกษาและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ดังนั้นจึงได้นำความรู้เรื่องนี้มาฝากกัน

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563

อันตรายของ “ยาเค” เสี่ยงอัมพาต-เสียชีวิต

เตือนภัยวัยรุ่นเสพยาเคในปริมาณมากร่วมกับสารเสพติดอื่นๆ หรือผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจทำให้เสียชีวิตได้ แม้เพียงเสพครั้งแรก

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

"ยาแก้แพ้" มีกี่ชนิด และควรเลือกอย่างไรดี?

ทุกวันนี้คนไทยมีอาการแพ้มากขึ้น ไม่ว่าจะแพ้อากาศ หรือแพ้มลพิษต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน ฯลฯ โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยในวัยเด็กเล็กพบอาการแพ้ เช่น แพ้นมวัวหรือโรคผิวหนัง ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่จะพบอาการแพ้ เช่นโรคภูมิแพ้ทางอากาศ เยื่อบุตาขาว โรคหอบหืด หรือ โรคภูมิแพ้อาหารทะเล เป็นต้น

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

มารู้จักยารักษาสิว “isotretinoin” ให้มากขึ้น

isotretinoin (ไอโสเตรติโนอิน) คือ ยาที่จะทำหน้าที่ยับยั้งสาเหตุของการเกิดสิว เช่น กดการทำงานของต่อมไขมัน ที่ทำให้ผลิตสารที่เป็นไขมันลดลง ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย และลดการอักเสบของสิว เป็นต้น โดยทั่วไปการใช้ยา isotretinoin ในช่วง 1 เดือนแรกอาการของสิวมักจะแย่ลง และจะค่อยๆ ดีขึ้นภายหลัง ซึ่งในระหว่างที่ใช้ยา isotretinoin อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาสิวชนิดอื่น โดยเฉพาะชนิดทาภายนอก

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

สารพัด "วัคซีน" แพทย์แนะฉีดก่อนเดินทาง-ท่องเที่ยว


  • องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ผู้ที่จะเดินทางไปยังประเทศ ในแถบแอฟริกา และอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มีไข้เหลืองระบาด ต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 10 วันก่อนเดินทาง

  • นักท่องเที่ยวทุกคน ถ้าจะเดินทางไปบริเวณที่มีคนหนาแน่น ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ก่อนเดินทางอย่างน้อย 2 สัปดาห์

  • การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคล่วงหน้าถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยควรปรึกษาแพทย์อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง เพื่อให้ร่างกายมีเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกัน

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

ไขความลับ “ครีมบัวหิมะ” มีประโยชน์จริงหรือ ?

ใครที่เคยไปเที่ยวเมืองจีนด้วยบริการทัวร์ คงไม่เคยมีใครไม่ได้ยินกิตติศัพท์ของ “ครีมบัวหิมะ” ที่คนไทยแต่ละคนต้องหอบกลับไทยมาด้วยหลายกล่องหลายกระปุก เพราะสรรพคุณที่โฆษณาไว้ทำให้ครีมบัวหิมะกลายเป็นของฝากทุกครั้งที่มีใครเดินทางไปประเทศจีน

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

ผู้ป่วยภูมิแพ้มีเฮ! ศิริราชผลิต “วัคซีนไรฝุ่น” ใช้เป็นรายแรกในอาเซียน

ศิริราชผลิต "วัคซีนไรฝุ่น" ครบวงจร ใช้เป็นรายแรกในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ในอนาคตจะมีการพัฒนาวัคซีนภูมิแพ้แมลงสาบ เกสรหญ้า และวัชพืชชนิดฉีด เนื่องจากเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย รองลงมาจากไรฝุ่น

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

นักวิจัยเตือนยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่า "กัญชา" ช่วยเรื่องสุขภาพจิตได้

นักวิจัยในออสเตรเลียกล่าวว่า หลักฐานที่ว่าการใช้กัญชาสามารถช่วยรักษาอาการป่วยทางจิต เช่น ความวิตกกังวล โรคซึมเศร้า และโรคจิตหลอน ได้นั้น ยังไม่มีน้ำหนักมากพอ และว่าแพทย์ควรใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการตัดสินใจให้การรักษาแก่ผู้ป่วยด้วยวิธีนี้

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

ลืมกินยาก่อนอาหาร-หลังอาหาร ควรทำอย่างไร ?

เมื่อเราต้องกินยา และเป็นยาที่ต้องกินตามเวลา ก่อนอาหาร หลังอาหาร พร้อมมื้ออาหาร หรือจะเป็นยาก่อนนอน ต้องกินก่อน และหลังอาหารกี่นาทีถึงจะเหมาะสม และถ้าลืมกินตามเวลาไปแล้ว ควรทำอย่างไร ?

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2563

6 สัญญาณอันตราย “กินยา” มากเกินไปจน “ตับพัง”

ผู้ป่วยจำนวนไม่น้องที่ต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุม หรือรักษาโรคอยู่เป็นประจำ และเป็นที่ทราบกันดีกว่าการกินยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อตับได้ หากคุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่กินยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ลองสังเกตตัวเองดูว่าเสี่ยงตับถูกทำลายหรือไม่

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

สมุนไพรขับ “ประจำเดือน” ดีต่อร่างกายจริงหรือ ?

การรับประทานอาหาร หรือสมุนไพรที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตช่วงที่มีประจำเดือนอาจฟังดูเป็นเรื่องที่ดี แต่ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ “ผิด” เนื่องจากหากเลือดประจำเดือนมามากกว่าปกติ อาจเป็นการเร่งให้เกิดโรคทางนรีเวชได้ จึงควรระมัดระวังเพื่อไม่ให้ประจำเดือนมาผิดปกติมากจนเกินไป