วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562

กินยาทุกครั้งที่ "ปวดท้องประจำเดือน" อันตรายหรือไม่ ?

โดยทั่วไปอาการปวดประจำเดือน มักเกิด 1-2 วันก่อนมีประจำเดือน หรืออาจเกิดขึ้นในวันที่มีประจำเดือนก็ได้ ซึ่งการเกิดอาการดังกล่าว เกี่ยวข้องกับสารกระตุ้นการอักเสบ Prostaglan din ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ในเลือดประจำเดือนของผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือน มีสารชนิดนี้สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีอาการปวดถึง 2 เท่า

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2562

อันตรายจากการให้เด็ก “กินยา” ผิดวิธี

ผู้ปกครองควรระมัดระวังในการให้เด็กกินยา เพราะหากเด็กกินยาไม่ถูกวิธี อาจส่งผลอันตรายถึงสุขภาพของเด็กได้

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ฟรี ! วัคซีน "โรคหัด" สำหรับเด็ก 1-12 ปี วันนี้ถึง 31 มี.ค. 63

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้จัดกิจกรรมพิธีเปิดโครงการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคหัดในกลุ่มเด็กอายุ 1-12 ปี ตามแผนเร่งรัดการกำจัดโรคหัดของประเทศไทย มุ่งเป้าหมายรณรงค์ให้วัคซีนในกลุ่มเด็กไทยและเด็กต่างชาติที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์นั้น เป็นการให้วัคซีนป้องกันโรคหัด-คางทูม-หัดเยอรมันแก่เด็กอายุ 1-ต่ำกว่า 7 ปี และให้วัคซีนป้องกันโรคหัด-หัดเยอรมันแก่เด็กอายุ 7-12 ปี โดยเริ่มดำเนินการโดยพร้อมกันทั่วประเทศเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562

“เชื้อดื้อยา” ภัยอันตรายจากการกินยาดัก-ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็น

การติดเชื้อดื้อยา เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทย เกิดจากการใช้ยาพร่ำเพรื่อ ใช้ยาไม่ถูกวิธี เช่น การกินยาดักไว้ก่อน กินยาฆ่าเชื้อทั้ง ๆ ที่ไม่มีเชื้อโรคให้ฆ่า อันตรายเกิดขึ้นเมื่อป่วยจริงแต่กินยาอะไรก็ไม่หาย และเสี่ยงเสียชีวิตได้

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ยา “คาร์บอน” แก้ท้องเสีย กินอย่างไรให้ถูกต้อง?

อากาศร้อนอบอ้าวอย่างบ้านเรา สามารถพบการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษได้เรื่อยๆ ตลอดทั้งปี และยังมีความเสี่ยงได้ตั้งแต่ร้านอาหารข้างทาง ไปจนถึงร้านมีชื่อขึ้นห้าง หรือโรงแรมดัง เมื่อไรก็ตามที่เรามีอาการถ่ายท้อง ท้องเสีย หลายคนนึกถึงยาคาร์บอนที่ช่วยให้เราหยุดถ่ายได้ แต่เมื่อไรที่เราควรทาน และเมื่อไรที่เราควรรักษาด้วยวิธีอื่น  มีข้อมูลมาฝากกัน

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

"ใช้ยาไม่สมเหตุผล" ต้นเหตุ "ดื้อยา" อันตรายที่คนมองข้าม

ขณะนี้เชื้อโรคดื้อยาค่อนข้างเยอะ ภาคใต้เจอคนไข้วัณโรคดื้อยาทุกชนิด ค่ารักษาตกราว 2 ล้านบาทต่อคน อัตราการหายจากโรค 30% สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะระดับชุมชนอย่างไม่เหมาะสม

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

“ยาสมุนไพร” อาจเป็นสาเหตุเพิ่มเสี่ยง “มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก”

แม้ว่าสาเหตุของโรคมะเร็งจะยังไม่สามารถชี้เฉพาะเจาะจงได้ว่ามาจากสาเหตุใดอย่างแน่ชัด แต่จากรายงานวิจัยหลายชิ้นสามารถระบุถึง “ปัจจัยเสี่ยง” ของโรคมะเร็งหลายชนิดได้ มีตั้งแต่อาหารปิ้งย่างที่มีรอยไหม้ดำมากเป็นพิเศษ อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว และเชื้อราที่อาจพบได้ในอาหารบางชนิด เช่น เชื้อราที่พบได้ในถั่ว เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

"ยาสมุนไพร" ผู้สูงอายุควรใช้อย่างไรถึงจะดี และปลอดภัย ?

การใช้ยาอย่างถูกต้องย่อมปลอดภัย และเกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ แต่ถ้าใช้ยาผิดพลาด! อาจทําให้ได้รับอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาในผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่าเป็น ผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยามากกว่าบุคคลทั่วไป ฉะนั้นมาดูกันดีกว่าว่า "การใช้ยา และ สมุนไพร" สำหรับผู้สูงวัย ควรใช้อย่างไรจึงจะดี และปลอดภัย?

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ยาแก้แพ้ มีกี่ชนิด และควรเลือกอย่างไรดี?

ทุกวันนี้คนไทยมีอาการแพ้มากขึ้น ไม่ว่าจะแพ้อากาศ หรือแพ้มลพิษต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน ฯลฯ โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยในวัยเด็กเล็กพบอาการแพ้ เช่น แพ้นมวัวหรือโรคผิวหนัง ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่จะพบอาการแพ้ เช่นโรคภูมิแพ้ทางอากาศ เยื่อบุตาขาว โรคหอบหืด หรือ โรคภูมิแพ้อาหารทะเล เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เมื่อร่างกายขาด "วิตามิน" ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายเราได้

วิตามินและแร่ธาตุ เป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก ต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และแม้ว่าร่างกาย จะต้องการวิตามินแร่ธาตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็จะขาดไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะหากร่างกายของคุณ ไม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างเพียงพอ ก็สามารถทำให้เจ็บป่วยได้ทันที และนี่คืออาการที่บ่งบอกว่า ร่างกายคุณขาดวิตามิน

วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

"ต้นตีนเป็ด" หรือ "พญาสัตบรรณ" กับ 6 ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ

หน้าหนาวมาทีไร แถวบ้านใครที่ปลูกต้นตีนเป็ด หรือต้นพญาสัตบรรณ เอาไว้คงได้กลิ่นจากดอกของต้นนี้อย่างชัดเจน บ้างก็ว่าหอมชื่นใจ บ้างก็ว่าเหม็นจนเวียนหัว แต่ไม่ว่าอย่างไรต้นตีนเป็ดก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ “ลมหนาว” ไปโดยปริยาย

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2562

"ยาสมุนไพร" ไม่มี อย. อาจรักษาโรคไม่ได้ แถมเสี่ยงตับไตพัง

ผู้บริโภคหลงเชื่อโฆษณาสมุนไพรที่ไม่มี อย.รับรอง อ้างสรรพคุณรักษาโรคเกินจริง ทำผู้ป่วยอาการทรุดหนัก เสี่ยงเป็นโรคไต และอาจทำให้หัวใจวาย

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ต้านฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ด้วยการกิน 5 สมุนไพร

จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่ดูเหมือนจะกลับมาอีกครั้ง ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานยุทธศาสตร์การแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จึงได้แนะนำถึง 5 สมุนไพรที่ช่วยในการดูแลปอด ฟอกปอด ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจาก PM 2.5 ดังนี้

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ทางเลือกใหม่ ยารักษา "เนื้องอกมดลูก" โดยไม่ต้องผ่าตัด

หากพูดถึงเนื้องอกในมดลูกของผู้หญิงในปัจจุบัน ถือเป็นอาการที่พบได้เยอะในผู้หญิงตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และแนวทางในการรักษา ก็คงหนีไม่พ้นการผ่าตัดที่นิยมรักษากันอย่างแพร่หลาย

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ผู้ป่วย 4 โรค เริ่ม “รับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้าน” 1 ต.ค. นี้ ลดแออัดใน รพ.

การเดินทางมารับยาในแต่ละครั้งของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา และต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นภาระทั้งกับตัวผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์เองในช่วงที่มีผู้ใช้บริการในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก อาจต้องตื่นแต่เช้าตรู่เพื่อไปนั่งรอหลายชั่วโมง แล้วรับยาแค่ไม่กี่นาที

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

อย. เรียกคืนยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร หลังพบ “สารก่อมะเร็ง”

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. แจ้งเตือนภัย ยาแผนปัจจุบัน สำหรับมนุษย์ มีเลขทะเบียน พบว่า ยาซานิดีน (Xanidine) ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 4 เฉพาะเลขที่ผลิต 1603179 ถูกเรียกเก็บคืน เนื่องจากองค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ได้ประกาศตรวจพบสารปนเปื้อน N-Nitrosodimethylamine (NDMA) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์หากใช้ในระยะยาว

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562

“ยาเสียสาว” คืออะไร พร้อมวิธีเอาตัวรอดเมื่อโดนมอมยา

เราอาจเคยได้ยินคำว่า “ยาเสียสาว” กันมาบ้างแล้วตามข่าวที่เกิดขึ้น โดยเป็นการใช้ยาผสมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อให้เหยื่อที่เป็นผู้หญิงทานหรือดื่มเข้าไป แล้วหมดสติ จนสามารถขมขื่นหรือชิงทรัพย์ได้โดยที่เหยื่อไม่รู้ตัว เจ้ายาพวกนี้จริงๆ แล้วเป็นยาอะไร หาซื้อได้ง่ายขนาดไหน หากรู้ตัวว่าโดนยาเหล่านี้เข้าไปจะต้องทำอย่างไร แล้วเราควรป้องกันตัวเองอย่างไร  มีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) มาฝากกัน

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

อันตราย! GHB ยาเสียสาว คืออะไร? หลีกเลี่ยงอย่างไร?

ในละครไทย ฉากที่ตัวร้ายต้องการจะปลุกปล้ำนางเอก มักมีการวางกลอุบายให้นางเอกทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ใส่ยาอะไรลงไปสักอย่าง ทำให้นางเอกไม่ได้สติ จนในที่สุดตัวร้ายก็พาขึ้นห้องจนได้ (แต่มักจะมีพระเอกมาช่วยไว้ได้ทัน)

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562

มีสติก่อนกิน! ยาเออร์กอต แก้ไมเกรน เสี่ยงติดเชื้อ-ตัดแขนขาทิ้ง

แพทย์ดังออกมาเตือน ยาเออร์กอต สำหรับรักษาผู้ป่วยไมเกรน อันตรายหากไม่ปรึกษาแพทย์ก่อนทาน เสี่ยงติดเชื้อ ตัดมือแขนขา อาจลามไปส่วนอื่นของร่างกาย และอาจถึงขั้นเสียชีวิต

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

ไขความลับ “ครีมบัวหิมะ” มีประโยชน์จริงหรือ ?

ใครที่เคยไปเที่ยวเมืองจีนด้วยบริการทัวร์ คงไม่เคยมีใครไม่ได้ยินกิตติศัพท์ของ “ครีมบัวหิมะ” ที่คนไทยแต่ละคนต้องหอบกลับไทยมาด้วยหลายกล่องหลายกระปุก เพราะสรรพคุณที่โฆษณาไว้ทำให้ครีมบัวหิมะกลายเป็นของฝากทุกครั้งที่มีใครเดินทางไปประเทศจีน

วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2562

อันตรายจากการกิน “ยาลดความอ้วน”

ปัจจุบันใครก็ต่างอยากจะมีรูปร่างที่ผอมเพรียวเป๊ะปัง และการออกกำลังกายก็ดูเหมือนจะไม่ทันใจเท่าไหร่ จึงทำให้หลายคนหันไปพึ่งวิธีการลดน้ำหนักแบบเร่งด่วน ที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตมากอย่าง “ยาลดความอ้วน” ซึ่งสมัยนี้ก็หาซื้อได้ง่ายมากตามอินเทอร์เน็ต และเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ยาลดความอ้วนที่ถูกโฆษณาขายในสื่อโซเชียลต่าง ๆ ไม่ได้มีคำแนะนำมาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกร นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการนำเสนอข่าวว่า มีผู้เสียชีวิตจากการซื้อยาลดความอ้วนกินเองอยู่บ่อยครั้ง

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

แพทย์สหรัฐฯ สั่ง "ยาแก้ไอ-ยาแก้ไข้หวัด" น้อยลง

การศึกษาครั้งใหม่ระบุว่า แพทย์อเมริกันแนะนำให้ผู้ป่วยใช้ยาแก้ไอ หรือยาแก้ไข้หวัดน้อยลงกว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อย. เผย 11 รายชื่อยา ห้ามนำเข้า "ญี่ปุ่น" เด็ดขาด

อย. เผยรายชื่อยาต้องห้าม 11 รายการ ที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นอย่างเด็ดขาด เป็นกลุ่มยาบรรเทาอาการหวัดที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสมและยาแก้ท้องเสีย ซึ่งญี่ปุ่นไม่ให้นำเข้ายาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ไม่ว่าจะนำเข้าไปเพื่อรักษาตัว หรือใช้ทางการแพทย์ หากนำเข้าจะถูกยึดและดำเนินคดีได้ จึงขอแจ้งเตือนพร้อมข้อแนะนำ รวมทั้งศึกษารายละเอียดถึงข้อห้าม ข้อจำกัดของแต่ละประเทศก่อนเดินทาง เพื่อจะได้ไม่ทำผิดกฎหมายประเทศนั้น ๆ

วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

“หมอเด็ก” เตือน “เจนเชียนไวโอเลต” เสี่ยงมะเร็ง


เจนเชียนไวโอเลต หรือยาม่วง ที่น่าจะเคยเป็นหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่มีอยู่ในตู้ยาบ่อยๆ อาจไม่ปลอดภัยที่จะใช้ได้อย่างสนิทใจนัก เมื่อมีข้อมูลว่าเจนเชียนไวโอเลตอาจมีความเสี่ยงก่อมะเร็งได้

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ไขข้อสงสัย กินยาแก้ปวดท้องประจำเดือนบ่อยๆ อันตรายหรือไม่?

คำถามที่ผู้หญิงหลายคนที่มีอาการปวดประจำเดือนบ่อยๆ อาจสงสัย ประจำเดือนมาทีไร วันนั้นต้องปวดท้องทุกที และต้องเพิ่งยาแก้ปวดตลอด ไม่ว่าจะพาราเซตามอล พอนสแตน หรือบรูเฟน แล้วแต่ใครถูกกับยาขนานไหน

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562

10 พฤติกรรมอันตราย เสี่ยง “ดื้อยา”

ลองจินตนาการดูว่า หากเราปวดศีรษะมากๆ แต่เราดื้อยาพาราเซตามอล จนต้องไปทานยาแก้ปวดชนิดที่แรงขึ้น นอกจากจะต้องเสียเงินมากกว่าเดิม เสียเวลาซื้อยาที่หาซื้อทานได้ยากกว่าเดิมแล้ว ยังเสี่ยงอันตรายต่อผลข้างเคียงของยาแรงๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับคุณได้อีกด้วย

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

9 ยารักษาโรคที่ต้องพกติดตัวเมื่อต้องเดินทางไปเที่ยว

ไปเที่ยวหน้าหนาวทั้งที หอบเสื้อผ้า พร็อพต่างๆ แล้ว ก็อย่าลืมพกยารักษาโรคไปด้วยนะคะ เพราะหากเป็นอะไรที่ต่างที่ต่างถิ่น โดยเฉพาะหนีร้อนไปเพิ่งหนาวที่ต่างประเทศขึ้นมา จะหมดสนุกเสียเปล่าๆ  นำคำแนะนำดีๆ จาก พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง) มาฝากหนุ่มๆ สาวๆ ชีพจรลงเท้ากันค่ะ

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ระวัง! ยา “ลอร์คาเซริน” อันตราย ห้ามใช้ลดน้ำหนัก มีผลต่อประสาท-หัวใจ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนระวังอันตรายยา “ลอร์คาเซริน” (Lorcaserin)  พบมีแนวโน้มนำมาใช้ในทางที่ผิดเป็นยาควบคุมน้ำหนักซึ่งไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย 

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562

“เก็บยา” อย่างไรให้ถูกวิธี ไม่เสื่อมสภาพเร็ว

ในบ้านเรามักมียาสามัญประจำบ้านที่ติดตู้ยาสำหรับสมาชิกในครอบครัวอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ต้องมียารักษาโรคที่เป็นกันอยู่บ่อยๆ เช่น ยาแก้ปวดอย่างพาราเซตามอล ยาใส่แผล ยาแก้แพ้ ท้องอืดท้องเสีย และบางบ้านอาจมียาหม่อง ยาทาแผลฟกช้ำดำเขียวด้วย

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562

“ข้าวยีสต์แดง” ลดไขมัน-ลดเสี่ยงโรคหัวใจได้ จริงหรือ?

ข้าวยีสต์แดง อาหารเสริมเพื่อสุขภาพที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะมีการอ้างว่าส่วนประกอบของยีสต์แดงช่วยลดไขมันในเลือดได้ แต่จริงๆ แล้วข้าวยีสต์แดงคืออะไร ลดไขมันได้จริงไหม และปลอดภัยกับร่างกายมากแค่ไหน ต้องทำความเข้าใจกันให้ดีก่อนบริโภค   

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อันตรายจาก “ยาคลายกล้ามเนื้อ” หากกินไม่ถูกวิธี

ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ก็อาจเสี่ยงมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ทั้งจากการออกกำลังกาย การทำงาน อุบัติเหตุ และอื่นๆ ยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยมีทั้งแบบกิน ทา ฉีด แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะราคาไม่สูง และได้ผลดี คือยาคลายกล้ามเนื้อแบบกิน จนหลายคนอาจ “เสพติด” การกินยาคลายกล้ามเนื้อโดยไม่รู้ ปวดเมื่อไร กินเมื่อนั้น แต่การกินยาคลายกล้ามเนื้อบ่อยๆ อาจเสี่ยงอันตรายในแบบที่เราไม่รู้ตัวได้

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ใช้ "น้ำมันกัญชา" ไม่ถูกวิธี มีผลข้างเคียงต่อสมอง

กรมสุขภาพจิต เป็นห่วงประชาชนชาวไทยเกิดผลข้างเคียงจากการใช้น้ำมันกัญชา โดยมีความเชื่อไม่ถูกต้อง และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่เข้าใจการใช้งาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสมองของผู้ใช้โดยตรง ในระยะยาวจะทำให้เสี่ยงต่ออาการทางจิตเวชเรื้อรังมากขึ้นได้ การใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น จึงควรใช้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

“ท้องเสีย-ถ่ายเหลว” ควรใช้ยาอะไรบ้าง?

ไม่ว่าจะฤดูไหน ในเมืองไทยก็เสี่ยงอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หรืออาหารเป็นพิษได้ทั้งปี เพราะอากาศร้อนชื้นในบ้านเราทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย อาหารบางประเภทมีเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ภายในไม่กี่นาทีที่ทำเสร็จแล้วตั้งทิ้งไว้โดยไม่อุ่นร้อน หรือนำเข้าตู้เย็น  หากมีอาการท้องเสียแล้ว ควรกินยาอะไรบ้าง และควรปฏิบัติอย่างไรถึงจะถูกต้อง

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เตือนนักเสพอย่าคิดใช้ “ไดคลาซีแพม” ฤทธิ์ร้ายอันตรายถึงชีวิต

เตือนภัยกลุ่มวัยรุ่น และผู้ที่คิดจะใช้ยาไดคลาซีแพมในทางที่ผิด อันตรายอาจถึงเสียชีวิต แนะผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานอย่างใกล้ชิด

วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"ยาเลื่อนประจำเดือน" ใช้อย่างไรให้ได้ผล?


  • ยาเลื่อนประจำเดือนไม่สามารถใช้ทดแทนยาคุมกำเนิดได้ เนื่องจากไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์

  • ยาเลื่อนประจำเดือน จะได้ผลดีสำหรับผู้ที่มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ และรู้วันที่จะมีประจำเดือนที่แน่นอนเท่านั้น

  • ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดเสียก่อน เนื่องจากการกินยาเลื่อนประจำเดือนอาจบดบังอาการของโรคได้

ยาเลื่อนประจำเดือน เป็นทางออกของสาว ๆ ที่ไม่อยากให้การมีประจำเดือนมาเป็นเรื่องกวนใจเพราะหลายครั้งที่ขอเลื่อนแผนเที่ยว ขยับแล้วขยับอีกก็ไม่ลงตัว การหันไป “เลื่อนประจำเดือน” จึงเป็นทางออกที่ดีกว่า

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

10 พฤติกรรมเสี่ยง “ดื้อยา” ที่ไม่ควรทำ อาจรักษาโรคได้ลำบากขึ้น

อาการดื้อยา หมายถึง การรับประทานยาตัวเดิมแล้วเริ่มไม่หาย ต้องเปลี่ยนเป็นยาที่แรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่จำเป็น สุดท้ายหากรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อาจไม่สามารถรักษาให้หายด้วยการรับประทานยาได้ โดยสาเหตุมาจากการรับประทานยาที่ผิดวิธี หากคุณมีพฤติกรรมในการรับประทานยาดังต่อไปนี้ อาจเสี่ยงดื้อยาได้ในอนาคต

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ฟรี! วัคซีนพื้นฐานป้องกัน 12 โรค รวมวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับกลุ่มเสี่ยง

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันที่ 24 – 30 เมษายนของทุกปี เป็นสัปดาห์รณรงค์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2019 มีแคมเปญว่า Protected Together: Vaccines Work! ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า การรับวัคซีนนับเป็นการลงทุนทางด้านสาธารณสุขที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง เพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าค่ารักษาพยาบาลและการควบคุมการระบาดของโรคติดต่ออย่างมาก แต่จากสถิติพบว่าในแต่ละปีทั่วโลกยังมีเด็กจำนวนไม่น้อยกว่า 20 ล้านคนยังเข้าไม่ถึงวัคซีนรวมทั้งในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดของประชาชนในบางกลุ่มด้วย

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

วิธีเช็คความปลอดภัยของ “ยาแผนโบราณ” จากทะเบียนตำรับยา

ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนชอบทานยาแผนโบราณที่สกัดมาจากสมุนไพรต่างๆ ตามธรรมชาติ มากกว่าเดินทางไปพบแพทย์ และรับยาปฏิชีวนะมาทาน เพราะอาจคิดว่าการรับประทานยาปฏิชีวนะนานๆ อาจตกค้างจนทำร้ายสุขภาพตับได้

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

“วิตามินซีเม็ด” ป้องกันโรคหวัดได้จริงหรือ?

ที่เราเคยเรียนกันมาตั้งแต่เด็กๆ น่าจะยังจำกันได้ว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันโรคหวัดได้ ใครที่ไปหาหมอตอนเด็กๆ แล้วได้วิตามินซีมารับประทานที่บ้านอีก 1 ถุง ก็คงเข้าใจว่าคุณหมอให้วิตามินเม็ดมารับประทานต่อเพื่อป้องกันไม่ให้เรากลับไปเป็นหวัดอีกครั้ง

วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

“เมี่ยงคำ-ตีผลา-ฟ้าทะลายโจร” สมุนไพรพื้นบ้านกับสรรพคุณดีๆ ที่อยากแนะนำ

เมี่ยงคำ" อาหารพื้นบ้าน ช่วยปรับสมดุลร่างกายในช่วงสภาพอากาศแปรปรวน มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสงคั่ว ช่วยบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น ใบชะพลู ขิง หัวหอม พริก ช่วยเลือดลมไหลเวียนสะดวก ป้องกันท้องอืด มะนาวขับเสมหะ ช่วยบรรเทาอาการไอ แนะดื่มน้ำสมุนไพรตีผลา หากมีอาการหวัดให้ใช้ฟ้าทะลายโจร

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคกระเพาะ

ในสังคมปัจจุบันมีแต่การแข่งขัน ทำให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของทุกคนต้องเร่งรีบไปด้วย ส่งผลให้สุขภาพของคนในสังคมแย่ลงและปัญหาทาง สุขภาพที่พบได้บ่อย คือ การเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งโดยทั่วไปเราเรียกกันว่า “โรคกระเพาะ”

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562

รู้จัก 7 กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง ออกฤทธิ์-มีผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคยอดฮิตของเหล่าคนสูงอายุ ที่อาจจะเริ่มมีปัญหาตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน หลังจากทำงานกันมาอย่างหนักหน่วงมามากกว่าครึ่งชีวิต สาเหตุของโรคความดันโลหิตไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนก็จริง

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

กระชาย กับ 6 ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ ชะลอแก่-บำรุงกำลัง

อาหารไทยที่เราชอบหลายเมนูมีกระชายเป็นส่วนประกอบค่ะ ไม่ว่าจะเป็นแกงป่า ผัดฉ่า และอื่นๆ ที่มีรสชาติจัดจ้านตามแบบฉบับอาหารไทย แต่ถึงแม้เราจะชอบทานเมนูอาหารเหล่านี้ เราก็เลือกที่จะเขี่ยกระชายออกจากจาน เหมือนบางคนที่ชอบทานผัดกะเพราแต่เขี่ยใบกะเพราออก ชอบที่จะให้กลิ่นมันอยู่ในจาน ได้รสชาติหอมฉุนนิดๆ ติดจมูกหน่อยๆ แต่ไม่ชอบรสชาติของมัน

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2562

กินยาอย่างไร ไม่ให้ "ไตพัง"?

ปัจจุบันข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่าคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน โดยกว่า 100,000 คน เป็นผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งนอกจากต้องเสียค่าใช้จ่าย ค่ายา ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติทำให้ต้องเสียเวลาในการมาฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องเป็นประจำ และคงไม่มีใครอยากลางานสัปดาห์ละครั้งหรืออาจจะมากกว่านั้น หรือต้องสละเวลาที่จะได้ใช้ร่วมกันกับครอบครัวหรือคนที่คุณรัก เพื่อมานั่งฟอกเลือดที่โรงพยาบาลครั้งละ 4-5 ชั่วโมงไปตลอดชีวิตจนกลายเป็นเป็นกิจวัตร

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562

เภสัชกรแนะ “สมุนไพร” คลายปวดเมื่อย ทดแทนยาปฏิชีวนะ

อินกันทั้งบางกับละครสุดฮิต “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” ที่สนุกแถมสาระเพียบ โดยเฉพาะความรู้สมุนไพรต่างๆ ที่ทำให้เราได้ทึ่งกับความมหัศจรรย์ของพืชพรรณ แถมยังนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อีกมาก

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2562

19 สมุนไพรไทยสรรพคุณแน่นจาก “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง”

หากใครได้ดูละคร “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง” จะพบว่ามีการให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยมากมายนับไม่ถ้วน ขอคัดมาเน้นๆ สูตรสมุนไพรตามตำรับแพทย์แผนไทยโบราณ จากข้อมูลดีๆ จาก อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (ที่ปรึกษาผู้จัดละครทองเอก หมอยา ท่าโฉลงด้านวิชาการแพทย์แผนไทย) นำมาฝากกัน

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

“ท้องเสีย” แบบไหน ถึงต้องกินยาปฏิชีวนะ?

สาเหตุของอาการท้องเสียมีอยู่มากมาย ทั้งการทานอาหารรสจัด อาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย หรืออาจจะแค่ถ่ายมากกว่าปกติเพราะทานอาหารที่เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายมากกว่าปกติก็ได้เช่นกัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าเราต้องทานยาทุกครั้งที่มีอาการท้องเสีย โดยเฉพาะ “ยาฆ่าเชื้อ” หนำซ้ำ หากเราทานยาทุกครั้งที่ท้องเสียโดยไม่จำเป็น อาจส่งผลให้เราดื้อยาได้

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สูตร “ยาสระผม” ตามฉบับแม่ผ่องใน “ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง”

คงจะมีหลายคนที่แพ้แชมพู หรือยาสระผมที่เต็มไปด้วยสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการคันหนังศีรษะ ผื่นแดง แสบร้อน หรือเป็นสิว และจะดีแค่ไหนหากเราได้ลองยาสระผมที่ทำมาจากสมุนไพรไทยล้วนๆ  จึงขอนำเสนอสูตรเครื่องยาสระ หรือยาสระผมสูตรแพทย์แผนไทยโบราณ ที่ อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (ที่ปรึกษาผู้จัดละครทองเอก หมอยา ท่าโฉลงด้านวิชาการแพทย์แผนไทย) เป็นผู้ให้ข้อมูลเอาไว้ เผื่อใครอยากลองทำตามกัน