วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

วัคซีน "โควิด-19" กับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

 

หลังจากเริ่มทดลองฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยกันแล้ว เราควรทราบถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในบางราย

ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า โดยหลักการวัคซีนจะทำหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รู้จักกับเชื้อโรคล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อย มีไข้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่แสดงให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันกำลังถูกกระตุ้นจากวัคซีน เพื่อป้องกันไม่ให้เราเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

อย. เตือน "อาหารเสริมเพิ่มความสูง" ไม่มีจริง

 

อย่าหลงเชื่ออาหารเสริมเพิ่มความสูง หลังอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานสูงขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

ลดเสี่ยง “มะเร็ง” ด้วยวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ฉีดได้ทั้งชายหญิง

 ไวรัสเอชพีวี HPV (Human Papilloma Virus) ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่มีประมาณ 40 สายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ที่รู้จักกันดีคือ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ และ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก 

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

ลืมกินยาตามเวลา "กินทันที" ได้หรือไม่?

 เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย และต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง หลายคนมักมีปัญหาลืมกินยาไปบ้างในบางครั้ง และเมื่อนึกได้ก็มักจะกินทันที หรือบางคนอาจจะกินเบิ้ลในมื้อเดียว เพื่อให้ครบจำนวนตามที่แพทย์สั่งในแต่ละวัน ซึ่งทำได้หรือไม่นั้น วันนี้ รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากกัน เพื่อให้การกินยาได้ประสิทธิภาพสูงสุดและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

เข้าใจใหม่! รู้สึกเหมือนจะป่วย “กินยาดัก” ไม่ได้ช่วยอะไร

 หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินหรือประสบกับตนเองกันมาบ้าง หากวันไหนที่เราเปียกฝน ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมักจะเตือนเราเสมอว่า “เดี๋ยวไม่สบายนะ ไปกินยาดักไว้ก่อน” ซึ่งเราก็คงกินบ้างไม่กินบ้างแล้วแต่อารมณ์ แต่ในเมื่อเรายังไม่ได้ป่วย หรืออาจจะไม่ป่วยก็ได้ เราสามารถกินยาเพื่อดักไข้ได้จริงๆ เหรอ?