วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564

เปิดลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 (ไฟเซอร์) กับศูนย์ฉีดวัคซีนกลางฯ 16 ธ.ค. นี้

 ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิดให้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็ม 3 (Booster dose) เป็นวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ผ่านค่ายมือถือ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป เริ่มฉีดวัคซีนวันที่ 18 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 ทุกวัน

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564

"เจ็บคอ" แบบไหน กินยาปฏิชีวนะได้

 การกินยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการเจ็บคอทั้งที่ไม่จำเป็น เป็นหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า คนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) มักมีอาการเจ็บคอจากไวรัส ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านแบคทีเรีย) ในการรักษา เพราะนอกจากจะไม่ส่งผลต่อการรักษาแล้วยังอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาด้วย

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564

3 สมุนไพร บำรุงสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์

 แพทย์แผนไทยแนะ สมุนไพร 3 ชนิด ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ บัวบก พรมมิและ กลีบบัวแดง ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเพื่อให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าว

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564

3 วิตามินที่จำเป็นเพื่อต่อสู้กับโควิด-19

 แต่ไหนแต่ไรวิตามินก็เปรียบเสมือนเกราะป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคมาโดยตลอด วิตามินบางตัวเช่นวิตามินดี ถูกนำมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคทางเดินหายใจหลายโรค ไหนจะข้อดีของวิตามิน ที่เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว ไม่ต้องรอป่วย กินเพื่อป้องกันได้ และสามารถกินได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดเพื่อการดูแลสุขภาพเชิงรุก ก็คงหนีไม่พ้นการเสริมวิตามินกับร่างกาย (โดยเฉพาะในตอนที่ยุค Next Normal ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว)

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

“ยาแก้อักเสบ” ไม่ใช่ “ยาฆ่าเชื้อ” อย่าสับสน อาจเสี่ยง “ดื้อยา” ในระยะยาว

 ทำความเข้าใจระหว่างยาแก้อักเสบ และยาฆ่าเชื้อใหม่ ยาแก้อักเสบช่วยลดอาการปวดบวมอักเสบไม่ว่าจะมาจากสาเหตุใด แต่ยาฆ่าเชื้อไว้ใช้เมื่อต้องการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากกินยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งๆ ที่อาการเจ็บคอจากหวัดมาจากเชื้อไวรัส จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงดื้อยาได้

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อย. เตือนอย่าซื้อยา “ฟาวิพิราเวียร์” รักษาโควิด-19 กินเอง เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

 

อย. เตือนประชาชนอย่าซื้อยาฟาวิพิราเวียร์กินเอง อาจเป็นยาปลอมและการใช้ยาที่ไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ส่งผลให้ใช้ยาไม่ได้ผลและเสียชีวิตได้ หากสงสัยว่ายาฟาวิพิราเวียร์ที่ได้รับเป็นยาปลอม สามารถ สอบถามและแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน อย. 1556 อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

วัคซีน "โมเดอร์นา" เหมาะกับใคร มีผลข้างเคียงหรือไม่

 Moderna (โมเดอร์นา) เป็นวัคซีนทางเลือกประเภท mRNA ที่ผลิตโดยบริษัทโมเดอร์นาทีเอ็กซ์ (ModernaTX, Inc.) ประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทย ได้มีการอนุมัติการใช้วัคซีนชนิดนี้เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 วัคซีนโมเดอร์นามีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อให้วัคซีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรได้รับวัคซีนจำนวน 2 โดส ห่างกัน 28 วัน หากพบอาการผิดปกติหลังฉีดวัคซีน เช่น หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที เพื่อความปลอดภัย

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ยา "แคปซูล" สามารถแกะกินแต่ผงด้านในได้ไหม?

 หลายคนที่มีปัญหาไม่สามารถกินยาแคปซูลทั้งแคปซูลได้ เช่น ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง หรือเด็กที่ไม่สามารถกินยาเม็ดได้ สามารถแกะเปลือกแคปซูลนำยามาละลายน้ำกินได้หรือไม่ มีข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกัน

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ทำไมฉีด “วัคซีน” แล้ว ยังติด “โควิด-19” ได้อีก?

 หลายคนอาจเคยมีประสบการณ์ หรือเคยได้ยินว่า ถึงจะฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังเสี่ยงติดโควิด-19 ได้อยู่ จริงหรือไม่ แล้วเราจะฉีดวัคซีนกันไปทำไม

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ยาฆ่าพยาธิ “ไอเวอเมคติน” (Ivermectin) ยาอีกชนิดที่ช่วยผู้ป่วย “โควิด-19” ได้

 นอกจากฟาวิพิราเวียแล้ว ยาฆ่าพยาธิไอเวอเมคตินก็สามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ให้ทุเลาลงได้เช่นกัน ปลอดภัย เห็นผล แต่ยังห้ามซื้อกินเอง ต้องให้แพทย์พิจารณาจ่ายยาให้เท่านั้น

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แนะ "สมุนไพรไทย" กินก่อน-ระหว่าง-หลังติดเชื้อโควิด-19

 กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนําพืชผักสมุนไพร ตำรับยาไทย เมนูอาหาร และเครื่องดื่มสมุนไพรที่ควรรับประทานเพื่อเพิ่มภูมิต้านทานร่างกายให้แข็งแรง ในสถานการณ์โควิด-19 

วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ยา "โมลนูพิราเวียร์" แนวทางใหม่ในการรักษาโควิด-19

 ทำความรู้จัก ยาโมลนูพิราเวียร์ ยาที่มาพร้อมกับแนวทางใหม่ในการรักษาโควิด-19 มีประสิทธิภาพอย่างไร และดีกว่ายาฟาวิพิราเวียร์อย่างไรบ้าง มีคำตอบจาก ผศ. นพ.โอภาส พุทธเจริญ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รู้จักยา “Antibody Cocktail” รักษาอาการ “โควิด-19” แบบโปรตีนผสม

 

ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังทวีความรุนแรงอย่างหนัก บวกกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถึงขั้นที่สาธารณสุขต้องปรับแนวทางการรักษา มาใช้วิธี Home & Community Isolation พร้อมจ่ายยารักษาตามอาการจนกว่าจะหายดี ไม่ว่าจะเป็น ยาต้านไวรัสออกฤทธิ์กว้างอย่าง “ฟาวิพิราเวียร์” หรือ “ฟ้าทะลายโจร” สมุนไพรที่บรรเทาอาการป่วยได้ดี

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รู้จัก “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” ลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ 80%

 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.ระบุว่า ประเทศเยอรมนีบริจาค “โมโนโคลนอลแอนติบอดี” เพื่อรักษากลุ่มผู้ป่วยอาการหนักมาก 1,000-2,000 ชุด มาให้ประเทศไทย และได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ทางการเยอรมนีใช้ยาตัวนี้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่ประเทศของตัวเอง พร้อมเตรียมแบ่งให้โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนแพทย์ และ โรงพยาบาลสังกัดกรมควบคุมโรค ตามสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อเตรียมใช้รักษาอาการของผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างเต็มที่

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

รพ.ศิริราชแนะวัคซีน “โมเดอร์นา” เข็มกระตุ้นหลังฉีด “ซิโนแวค-AZ” อย่างไร

 ใครที่จองวัคซีนโมเดอร์นาเอาไว้เป็นเข็มกระตุ้น เช็กดูว่าควรฉีดเมื่อไร อย่างไร หลังฉีดซิโนแวค หรือ AZ ไปแล้ว

โรงพยาบาลศิริราช ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ “โมเดอร์นา” สำหรับการฉีดเป็นเข็มกระตุ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

ใช้ "พืชกระท่อม" ในการรักษาโรคอย่างไรให้ถูกวิธี

 เมื่อมีการปลดล็อกพืชกระท่อมและได้รู้ผลดีผลเสียกันแล้ว หลายคนได้นำมาปลูกแต่ยังไม่รู้ว่าใบกระท่อมนั้นจริงๆแล้ว มีวิธีในการใช้เพื่อรักษาอาการและโรคต่างๆมากมาย แต่ทั้งนี้ยังมีคนใช้พืชกระท่อมอย่างผิดวิธี วันนี้ทางเราจะมาแนะนำวิธีการใช้พืชกระท่อมอย่างถูกต้อง ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกัน 

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564

เด็ก-วัยรุ่น กับข้อควรระวังก่อนฉีดวัคซีน "โควิด-19"

 ในช่วงโควิด-19 ระบาดใหม่ๆ หลายคนอาจจะทราบดีว่ายังไม่มีข้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับเด็กและวัยรุ่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะในระยะแรกๆ ข้อมูลหรือผลการศึกษาการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยังมีไม่มาก และยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

เตรียมตัว ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19 และหลังฉีดวัคซีนโควิด ควร-ไม่ควรทำอะไรบ้าง?

 การฉีดวัคซีนโควิด-19 ดูเป็นเรื่องแสนจะง่ายดายของหนุ่มสาวฉกรรจ์ทั้งหลาย เหลือก็แค่ทำตัวให้แข็งแรงนั่งรอนอนรอ ต่อแถวรับวัคซีนตามคิวที่จะถึงในเร็วๆ นี้

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564

กิน "ยาคุม" ทำให้ "อ้วน" จริงหรือ?

 เชื่อกันว่าทุกคนคงเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว กับประโยคที่ว่า “อ้วนเพราะยาคุม” หรือ “ยาคุมเสี่ยงที่อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้” แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวที่พูดต่อๆ กันมานั้น เราจะทราบและเชื่อถือได้อย่างไรว่า มีความจริงแฝงอยู่มากน้อยแค่ไหนบ้าง จึงขอนำบทความที่จะพาให้ทุกคนหายข้องใจมาฝากกัน

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2564

ยาคุมกำเนิด กินอย่างไรให้ถูกวิธี ป้องกันการตั้งครรภ์ได้แน่นอน

 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ วิธีการกินยาคุมกำเนิด อย่างถูกวิธีในแต่ละประเภท เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างสูงสุด เพราะสาวๆ หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าจะต้องกินอย่างไร หรือกินแล้วดันตั้งครรภ์ขึ้นมาเสียอย่างนั้น มาดูรายละเอียดง่ายๆ กันค่ะ 

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2564

"วัคซีน ChulaCov19" โดยคนไทย เทคโนโลยีเดียวกับไฟเซอร์-โมเดอร์นา

 วัคซีน ChulaCov19 โดยนักวิจัยชาวไทย ประสิทธิภาพเทียบชั้น Pfizer-Moderna ใกล้ได้ใช้จริง เริ่มทดลองกับมนุษย์

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2564

“วัคซีนภูมิแพ้” ทางเลือกสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 สำหรับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้แล้ว การมีวัคซีนภูมิแพ้ถือว่าเป็นข่าวดี เพราะวัคซีนจะช่วยลดอาการที่เป็นลงได้ ทำให้ไม่ต้องกินยาไปตลอด และมีโอกาสที่จะหายขาดเป็นปกติได้อีกด้วย ใครที่สนใจวัคซีนตัวนี้แต่ยังลังเลสองจิตสองใจอยู่ ลองมาอ่านข้อมูลทำความเข้าใจกันก่อนจาก พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา โรงพยาบาลนวเวช

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

วิตามินซี-ซิงค์ ป้องกันโควิด-19 ได้จริงหรือไม่?

 ในช่วงโควิด-19 ระบาด และหลายคนเริ่มตามหาวิตามินมากินเพื่อลดเสี่ยงติดโควิด-19 มีวิตามินที่ช่วยในเรื่องนี้ได้จริงหรือ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ทำไมแต่ละคนมีอาการตอบสนองต่อ "วัคซีนโควิด-19" แตกต่างกัน?

 อาการข้างเคียงชั่วคราว เช่น อาการปวดศีรษะ เหนื่อยล้า และมีไข้ เป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์เรากำลังทำงาน ซึ่งเป็นการที่ร่างกายตอบสนองต่อวัคซีนตามปกติ และเป็นเรื่องที่พบเห็นทั่วๆ ไป

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เลือกฉีด "วัคซีนโควิด-19" ต่างชนิดกันได้หรือไม่?

 ในช่วงที่หลายประเทศ เผชิญกับความท้าทายด้านการแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ให้ถึงมือประชาชนอย่างรวดเร็ว หนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นก็คือ เราสามารถฉีดวัคซีนรูปแบบ 2 โดส โดยใช้วัคซีนที่ต่างชนิดกันได้หรือไม่?

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

“วัคซีนโควิด-19” ซิโนแวค กับ แอสตร้าเซนเนก้า ทำไมเว้นระยะเข็มแรกกับเข็มที่ 2 ไม่เท่ากัน?

 เริ่มมีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ได้สิทธิ์ในการฉีดวัคซีนโควิด-19 แม้ว่าจะแตกต่างกันที่ยี่ห้อไปบ้าง แต่ในขณะนี้การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ลดจำนวนคนเจ็บ คนเสียชีวิตจากโควิด-19 ให้ได้มากที่สุด

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

7 ข้อปฏิบัติ ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

 กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจอนามัยโพลต่อประเด็นความกังวลและความรู้สึกต่อการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบสถานการณ์การติดเชื้อและเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลให้ประชาชนมีความกังวลใจและรู้สึกต้องการฉีดวัคซีนโควิด–19 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.5 พร้อมแนะวิธีการเตรียมตัวเมื่อไปฉีดวัคซีน

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

“แอสตร้าเซนเนก้า-ซิโนแวค” วัคซีนโควิด-19 เป็นความหวังของคนไทยได้จริงหรือ?

 หลังจากผ่านพ้นปฏิทินปี 2021 มา 5 เดือนเต็ม ในที่สุดประเทศไทยก็กำลังเดินหน้าเข้าสู่ขั้นต่อไปของการ “ฉีดวัคซีน” ไวรัสโควิด-19 หรืออีกนัยหนึ่ง คือการเปิดให้ประชากรไทยลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” เพื่อเตรียมตัวรับวัคซีนอย่างทั่วถึง


แต่ประเด็นที่ใครหลายคนอยากรู้ก่อนจรดนิ้วลงทะเบียน คงหนีไม่พ้นเรื่องสองยี่ห้อวัคซีน “ม้าเต็ง” อย่าง แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และ ซิโนแวค (Sinovac) ที่ถูกถามถึงกันไม่เว้นวัน ว่า “ประสิทธิภาพ” รวมถึง “ผลข้างเคียง” ที่เกิดขึ้น จะคุ้มค่าพอให้เราเลิกแขนเสื้อขึ้นฉีดหรือไม่


แต่ก่อนจะพูดเจาะลึกถึงสองม้าเต็ง เราอยากจะขยายความถึงม้าเบอร์อื่นๆ ให้ชัดเจนขึ้นเสียก่อน เพื่อง่ายต่อการเทียบข้อแตกต่าง และชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าของวัคซีนแต่ละชนิดอย่างชัดเจนที่สุด


วัคซีนโควิด-19 มีกี่ชนิด

นายแพทย์สมชัย ลีลาศิริวงศ์ ที่ปรึกษาผู้จัดการความเสี่ยง โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลกับเราว่า วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งหมดในปัจจุบัน มีอยู่ 4 ชนิดหลักๆ โดยแบ่งจากเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ได้แก่


- mRNA vaccines หรือวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เคยใช้กับการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีโบล่า วัคซีนชนิดนี้จะใช้สารพันธุกรรมของโควิด-19 หรือเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เข้าไปกำกับการสร้างโปรตีนส่วนหนาม (spike protein) และทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 ออกมา โดยมี BioNTech/Pfizer และ Moderna เป็นสองยี่ห้อที่ใช้เทคโนโลยีนี้


- Viral vector vaccines หรือวัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้ว หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก มาตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ แล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี


เนื่องจากเลียนแบบการติดเชื้อที่ใกล้เคียงธรรมชาติ โดยมีวัคซีนจาก Johnson & Johnson, Sputnik V รวมถึง ‘Oxford – AstraZeneca’ ที่ผลิตจากเทคนิคนี้


- Protein-based vaccines หรือวัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ ไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2)  โดยการนำเอาโปรตีนบางส่วนของโควิด-19 เช่น โปรตีนส่วนหนาม มาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ ก่อนฉีดเข้าร่างกาย แล้วนำมาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าไปแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ใช้กันมานานแล้ว เพราะเป็นเทคนิคที่ใช้ผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนตับอักเสบชนิดบี ซึ่ง Novavax เป็นหนึ่งยี่ห้อที่ใช้เทคนิคนี้ในการผลิต    


- Inactivated vaccines หรือวัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นการผลิตขึ้นจากการนำเชื้อโควิด-19 มาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน ก่อนฉีดเข้าร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส เทคนิคนี้ผลิตได้ค่อนข้างช้า และต้นทุนสูง เนื่องจากต้องผลิตในห้องปฏิบัติการนิรภัยระดับ 3 ซึ่งเจ้าที่ใช้เทคนิคนี้คือ Sinopharm และ Sinovac


ผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19

เมื่อรับรู้ถึงที่มาที่ไปของเทคนิคที่ใช้ในการผลิตวัคซีนในแต่ละชนิด ความคาดหวังต่อมาคงหนีไม่พ้นปัจจัยด้านความเสี่ยง หรือ “ผลข้างเคียง” ที่ดูจะมีหลายอาการจนน่าสับสน ซึ่งจริงๆ แล้วผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ผู้มีผลข้างเคียงส่วนใหญ่มักมีอาการร่วมกัน อย่าง จุดปวด บวม แดง คัน หรือช้ำ ตรงจุดฉีดวัคซีน, อาการคลื่นไส้ - มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รวมถึงรู้สึกอ่อนเพลียและไม่สบายตัว ซึ่งเป็นผลข้างเคียง “ชนิดไม่รุนแรง” ที่พบแทบในวัคซีนทุกชนิด


“ประเด็นที่คนไทยกำลังกังวลคือ ข่าวผลข้างเคียงที่รุนแรง โดยเฉพาะภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า” โดย “สำนักงานการแพทย์ยุโรป (EMA) ประกาศว่าวัคซีนชนิดนี้ อาจมีความเชื่อมโยงกันกับภาวะดังกล่าว หลังมีรายงานว่ามีผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลังได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก”


“แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายหน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับโลกรายงานตรงกันว่า หากเทียบสัดส่วนประชากรที่รับการฉีดแล้ว ภาวะดังกล่าวมีสัดส่วนเกิดขึ้นต่ำมาก เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว หลายฝ่ายจึงให้ข้อสรุปว่า การเดินหน้าฉีดวัคซีนเพื่อลดโอกาสเสียชีวิตจากโควิด-19 จะมีประโยชน์มากกว่าการระงับใช้วัคซีนไปเลย”


ส่วนอีกหนึ่งที่กำลังเข้าสู่ประเทศไทยหลักล้านโดส อย่าง ซิโนแวค แม้ล่าสุดจะถูกเอ่ยถึงอาการข้างเคียงคล้ายอัมพฤกษ์ ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทชั่วคราว แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจนในหัวข้อดังกล่าว


แอสตร้าเซนเนก้า-ซิโนแวค วัคซีนโควิด-19 เป็นความหวังของคนไทยได้จริงหรือ?

ด้วยรายงานต่างๆ นานา ของทั้ง แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนแวค อาจจะยากเสียหน่อยที่จะยกวัคซีนทั้งสองให้เป็นม้าตัวความหวังของประเทศไทย แต่อย่างน้อยที่สุดแล้วทั้งคู่ต่างก็เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองจากองค์กรอนามัยโลกแล้ว มีการอนุมัติใช้แล้วในหลายประเทศ และยังผ่านการขึ้นทะเบียนและได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย อย่างถูกต้อง      


รศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ให้ข้อมูลวัคซีนทั้งสองชนิดว่า “ในประเทศไทย จะใช้ แอสตร้าเซนเนก้า ฉีดให้กับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป บริเวณต้นแขนรวม 2 โดส ห่างกัน 10-12 สัปดาห์ และหลีกเลี่ยงการฉีดให้กับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก ส่วน ซิโนแวค จะฉีดให้กับผู้ที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี บริเวณต้นแขนรวม 2 โดสเช่นกัน แต่ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ และยกเว้นผู้ที่อยู่ในพื้นที่ระบาดรุนแรง จะต้องฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์เท่านั้น”


“ประเทศไทยเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนให้กลุ่มเสี่ยงทั้ง 4 ไปแล้ว ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า, ผู้มีโรคประจำตัวหรือโรคกลุ่มเสี่ยง, ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ซึ่งหลังจากมีการนำเข้าวัคซีนมากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เริ่มดำเนินการวางแผนงานฉีดวัคซีนให้คนทั่วไป กับโรงพยาบาล 1,500 แห่งทั่วประเทศ ผ่านแพลตฟอร์ม หมอพร้อม”


แพลตฟอร์ม “หมอพร้อม” จะเปิดให้ลงทะเบียนผ่าน LINE Official Account ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ เป็นต้นไป อีกทั้งยังเปิดให้ประชาชนได้ศึกษาวิธีใช้งาน รวมถึงรายละเอียดที่ต้องแจ้ง ผ่านทางเว็บไซต์ https://หมอพร้อม.com อีกด้วย


แม้จะสรุปไม่ได้ว่าการฉีดวัคซีนทั้งสองชนิด เป็นทางรอดของคนไทย 100% หรือไม่ แต่เราก็เชื่อว่าการเข้าถึงข้อมูลของวัคซีนโควิด-19 ที่มากพอ จะช่วยสร้างความหวังให้คนไทยได้ ตัดสินใจเลือก “ทางเลือก” ในการก้าวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ด้วยตัวเอง

ที่มา:sanook

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

"ลิ่มเลือดอุดตัน" ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

 สถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดระลอกใหม่อยู่ในขณะนี้ ยังคงแพร่กระจายและรุนแรงอย่างต่อเนื่อง คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังยิ่งต้องระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นหากได้รับเชื้อ เพราะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานแย่ลงอาจเกิดอาการหัวใจล้มเหลวได้ การฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค และเพิ่มโอกาสรอดชีวิตในผู้ป่วย

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

สถานการณ์ "โควิด-19" กับ "วัคซีน" ที่คนทั้งโลกรอคอย

 2020 ที่ผ่านมา นับเป็นปีที่คนทั่วโลกได้รู้จักกับโรคอุบัติใหม่อย่างโรคโควิด-19 ที่เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจตั้งแต่โรคหวัดธรรมดาจนถึงโรคที่มีอาการรุนแรง

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

รู้จักภาวะ ISRR ความเครียดหลังรับ “วัคซีนโควิด-19” สาเหตุอาการชา-อ่อนแรง

นอกจากอาการ Stroke หรือโรคหลอดเลือดสมองที่อาจพบได้ในผู้รับวัคซีนโควิด-19 บางคนแล้ว หากผู้รับวัคซีนมีความเครียดสูง อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หลังรับวัคซีนได้ด้วยเช่นกัน ซึ่ง WHO หรือองค์การอนามัยโลกระบุภาวะนี้ว่า Immunization Stress-Related Response (ISRR)

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564

"หญิงตั้งครรภ์" ควรฉีดวัคซีน "โควิด-19" หรือไม่?

 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยผลสำรวจพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 77 ราย ส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และพบการติดเชื้อในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ถึงร้อยละ 81.5  แนะนำหญิงตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนป้องกัน แต่ให้เหมาะควรฉีดช่วงหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ พร้อมย้ำป้องกันตัวเองต่อเนื่อง สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือ

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ซิโนแวค vs ซิโนฟาร์ม เหมือนและต่างกันอย่างไร?

 นอกจากวัคซีนซิโนแวคแล้ว บ้านเรากำลังจะได้วัคซีนซิโนฟาร์มเข้ามาเสริมเพิ่มเติมสำหรับฉีดป้องกันโควิด-19 ในเวลาไม่นานนัก โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมนำเข้า และจัดจำหน่ายวัคซีนทางเลือก “ซิโนฟาร์ม” อีกหนึ่งตัวเลือกวัคซีนสำหรับคนไทยที่สนใจ

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2564

แพทย์ย้ำ "วัคซีน" จำเป็น ลดเสี่ยงแพร่เชื้อโรคได้จริง

 ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่มานับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เราได้เรียนรู้และได้รับบทเรียนจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส และโรคเมอร์ส ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าจากเหตุการณ์นั้นๆ ปัจจัยสำคัญที่นำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตของการแพร่ระบาดคือ การนำมาตรการที่เข้มงวดต่างๆ มาปรับใช้ในสังคมไทย ร่วมกับการให้ภูมิคุ้มกันที่ดีกับประชาชน โดยหากทุกฝ่ายร่วมมือกันและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม ก็จะเป็นหนทางที่สามารถนำพาประเทศสู่ทางออกได้

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

“โควิด-19” กับอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีน

 วัคซีนป้องกันโควิด-19 เริ่มทยอยเข้ามาให้ชาวไทยได้ฉีดกัน โดยเริ่มที่ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงก่อน แล้วจึงค่อยๆ ทยอยให้คนทั่วไปได้ฉีดกันในภายหลัง สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ลองสังเกตอาการของตัวเองหลังฉีดวัคซีนให้ดี หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เพิกถอน 4 ทะเบียนตำรับยาอมแก้เจ็บคอ-ต้านแบคทีเรีย อันตรายเสี่ยงดื้อยา

 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เพิกถอน 4 ทะเบียนตำรับยาอมแก้เจ็บคอ-ต้านแบคทีเรีย อันตรายเสี่ยงเชื้อดื้อยา 

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กินยาแก้ “ปวดท้องประจำเดือน” บ่อยๆ อันตรายหรือไม่?

 โดยทั่วไปอาการปวดประจำเดือน มักเกิด 1-2 วันก่อนมีประจำเดือน หรืออาจเกิดขึ้นในวันที่มีประจำเดือนก็ได้ ซึ่งการเกิดอาการดังกล่าว เกี่ยวข้องกับสารกระตุ้นการอักเสบ “พลอสตาแกลนดิน” (Prostaglandin) ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ในเลือดประจำเดือนของผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือน มีสารชนิดนี้สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่มีอาการปวดถึง 2 เท่า

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สังเกตดีๆ หลังฉีดวัคซีน “อาการข้างเคียงกับอาการแพ้” ไม่เหมือนกัน

 จากข้อมูลจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 ของประเทศไทยในเวลานี้ จำนวนล่าสุดอยู่ที่ 13,464 ราย (ข้อมูลวันที่ 3 มี.ค. 2564 เวลา 18.00 น.) ซึ่งหลังจากที่ฉีดวัคซีนแล้ว พบผู้ที่มีอาการไม่พึงประสงค์ หรืออาการข้างเคียง) รวมสะสมอยู่ที่ 119 ราย ในจำนวนนี้มีทั้งผู้ที่มีอาการรุนแรงและไม่รุนแรง

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

สัญญาณอันตราย ร่างกายกำลัง "แพ้ยา"

 อาการแพ้ยาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราต้องกินยาตัวนั้นเข้าไป เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ถึงจะสงสัยได้ว่าอาจเป็นเพราะยา หรืออาหารที่กินเข้าไปล่าสุด แต่อาการที่ว่าผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้หลังกินยาที่ทำให้แพ้จะมีอะไรที่เราสามารถสังเกตได้บ้าง มีข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มาฝากกัน

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ทำไม? "เด็ก" ถึงเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะได้ฉีดวัคซีน "โควิด-19"

 หลังจากที่เมืองไทยเริ่มทำการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยเริ่มจากผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุดไล่ลงมาเรื่อยๆ แต่สำหรับเด็กจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เป็นเพราะอะไร  มีคำตอบจาก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

ไขข้อสงสัย หลังฉีดวัคซีน "โควิด-19" ยังบริจาคเลือดได้ไหม?

 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ หมอยง ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ว่าคนที่ฉีดวัคซีนจะสามารถบริจาคเลือดได้ไหม โดยทางหมอยงอธิบายเอาไว้ ดังนี้

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2564

วัคซีน "โควิด-19" กับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

 

หลังจากเริ่มทดลองฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยกันแล้ว เราควรทราบถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในบางราย

ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า โดยหลักการวัคซีนจะทำหน้าที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รู้จักกับเชื้อโรคล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับเชื้อเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ เจ็บป่วย หรือเสียชีวิต แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อย มีไข้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่แสดงให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันกำลังถูกกระตุ้นจากวัคซีน เพื่อป้องกันไม่ให้เราเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2564

อย. เตือน "อาหารเสริมเพิ่มความสูง" ไม่มีจริง

 

อย่าหลงเชื่ออาหารเสริมเพิ่มความสูง หลังอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานสูงขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2564

ลดเสี่ยง “มะเร็ง” ด้วยวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ฉีดได้ทั้งชายหญิง

 ไวรัสเอชพีวี HPV (Human Papilloma Virus) ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก และเป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่มีประมาณ 40 สายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ที่รู้จักกันดีคือ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ และ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก 

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

ลืมกินยาตามเวลา "กินทันที" ได้หรือไม่?

 เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย และต้องกินยาตามที่แพทย์สั่ง หลายคนมักมีปัญหาลืมกินยาไปบ้างในบางครั้ง และเมื่อนึกได้ก็มักจะกินทันที หรือบางคนอาจจะกินเบิ้ลในมื้อเดียว เพื่อให้ครบจำนวนตามที่แพทย์สั่งในแต่ละวัน ซึ่งทำได้หรือไม่นั้น วันนี้ รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาฝากกัน เพื่อให้การกินยาได้ประสิทธิภาพสูงสุดและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

เข้าใจใหม่! รู้สึกเหมือนจะป่วย “กินยาดัก” ไม่ได้ช่วยอะไร

 หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินหรือประสบกับตนเองกันมาบ้าง หากวันไหนที่เราเปียกฝน ผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมักจะเตือนเราเสมอว่า “เดี๋ยวไม่สบายนะ ไปกินยาดักไว้ก่อน” ซึ่งเราก็คงกินบ้างไม่กินบ้างแล้วแต่อารมณ์ แต่ในเมื่อเรายังไม่ได้ป่วย หรืออาจจะไม่ป่วยก็ได้ เราสามารถกินยาเพื่อดักไข้ได้จริงๆ เหรอ?